10.10.2551

เนื้อหาภายใน blog วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา



Blog วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา นี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมบทความของนิสิตในประเด็นเรื่องการพัฒนาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่เพื่อนนิสิตและผู้สนใจทั่วไป ทางคณะผู้จัดทำหวังว่า blog ดังกล่าวนี้จะสามารถเป็นสื่อสารสนเทศที่ให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าชมไม่มากก็น้อย โดยผู้เข้าชมสามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของท่านผ่านบล๊อกนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ชมท่านอื่นและเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้การแสดงความคิดเห็นควรเป็นไปอย่างสุภาพและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น
หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


เนื้อหาภายใน blog วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา


๒๘ กรกฏาคม แนวคิดเรื่องการพัฒนาเปรียบเทียบ
ป๋วย อึ้งภากรณ์ จากครรภ์มารดา โดย น.ส.ทิพวรรณ เศละพฤกษ์กุล
ปรีดี พนมยงค์ เค้าโครงเศรษฐกิจ โดย นางสาวเอมอร เวชยันต์วิวัฒน์
ในหลวงภูมิพล เศรษฐกิจพอเพียง โดย นายณัฐภัทร เจริญรักษ์
บุญนิยม สันติอโศกโดย นายประพันธุ์ ทับเนียม
ความสุขมวลรวมประชาชาติGNH โดย นายณัฐภัทร จิราพงษ์
อยู่ดีมีสุข ศสช. โดย นางสาวสิริมาส จันทร์แดง
การพัฒนาที่ยั่งยืน ศสช. โดย นายวรวุฒิ อุทัยธรรมกิจ


๔ สิงหาคม ทุนนิยมไทยและความเหลื่่อมล้ำ
ทุนนิยมแบบไทย โดย นายทรงพล อภิวัฒนานนท์
การสะสมทุน โดย นางสาวบุรฉัตร พานธงรักษ์
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดย นายกิติคุณ ตั้งคำ
การลงทุนจากต่างประเทศ(FDI) โดย นายอนุพงษ์ พุฒศิริ
EXIM BANK โดย นายวิชพัฒน์ องค์ทองคำ
เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา โดย นายรดมยศ มาตเจือ


๑๑ สิงหาคม ระบบสวัสดิการของไทย
ประกันสังคม
โดย นายพีระวัฒน์ อัฐนาค
สามสิบบาทรักษาทุกโรค โดย นางสาวรติมาศ นรจิตร์
สวัสดิการข้าราชการ โดย นายรณกฤษ ศรืเปรมหทัย
กองทุนเงินทดแทน โดย นายวัชรพล คัคโนภาส


๑๘ สิงหาคม ปัญหาแรงงาน
การควบคุมแรงงานต่างด้าว โดย นางสาวกิตยาพรรณ ทองมาก
ปัญหาแรงงานเด็ก โดย นางสาวนุชนาฎ อินทะนาค
ปัญหาแรงงานสตรี โดย นางสาวนภสร สิงหวณิช
การกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ โดย นายฉัตรชัย ใจทิยา


๘ กันยายน การพัฒนาชนบทกับชาวนา
สหกรณ์การเกษตร โดย นายดลภัทร์ โตนาม
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดย นายภูริพงศ์ มงคลหัตถี
ปฎิรูปที่ดิน โดย นายธวัชชัย เอื้อสุขเจริญชัย
หนี้สินชาวนาและการพักชำระหนี้ โดย นางสาวพิชญ์นรี สันตีระชัยวัฒนา


๘ กันยายน เทคโลโลยีและผลกระทบ
พรบ ความปลอดภัยทางชีวภาพ โดย นายวิน จิตรไกรสร
มะละกอ จีเอ็มโอ โดย นางสาวฤดี สมานมิตร
Compulsory licensing โดย นางสาวอมรรัตน์ ทับมี
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดย นางสาวศิรินพร เตชะรัตนประเสริฐ
คดีผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีคลิตี้ โดย นางสาวดวงเดือน สอดศรี

การโต้วาทีในประเด็นปัญหาการพัฒนา

ขอเชิญผู้สนใจชมคลิปวีดีโอการโต้วาทีย้อนหลังในประเด็นปัญหาการพัฒนา ได้ที่ blog วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา (Politics of development) และเสนอความคิดเห็น ข้อแนะนำและข้อติชมได้ค่ะ โดยมีรายละเอียดของญัตติและประเด็นการโต้วาที ดังต่อไปนี้


เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
นิสิต คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง ชั้นปีที่ 3
ได้โต้วาทีในประเด็นปัญหาการพัฒนา ภายใต้ญัตติต่อไปนี้





ญัตติที่ 1
ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นทางรอดของการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์



ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยได้มาถึงจุดที่ตลาดในโลกนี้เชื่อมต่อกันหมดโดยไม่มีอุปสรรคที่เป็นเงื่อนไขของแต่ละประเทศ ตั้งแต่การลงทุน การเงิน การคา และการบริการ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าของโลกไม่บรรลุผล ประเทศไทยดำเนินการในเรื่องการค้าบนตรรกะของการไม่ต้องตกขบวนรถไฟ ปัจจุบันประเทศไทยได้เซ็นสัญญาข้อตกลงการค้าเสรีไปแล้วหลายประเทศ ทั้งประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจเหนือกว่า และที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันโดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การลดภาษีอากร และเงื่อนไขอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การช่วยเหลือจากภาครัฐ ข้อถกเถียงที่สำคัญสำหรับการค้าเสรีกับบางประเทศคือการนำเรื่องการค้าไปเกี่ยกวับประเด็นการพัฒนาอื่นๆ เช่น สิทธิบัตร มาตรฐานสินค้า มาตรฐานแรงงาน เป็นต้น รวมไปถึงประเด็นการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากความแตกต่างกันในระดับของการพัฒนาและเทคโนโลยี นอกจากการต่อรองระหว่างประเทศแล้ว ข้อตกลงเขตการค้าเสรียังขึ้นอยู่กับการต่อรองระหว่างตัวแสดงในภาคส่วนต่างๆภายในประเทศ เนื่องจากจะมีคนได้และเสียจากข้อตกลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ และความสามารถในการเข้าถึงการตัดสินใจของผุ้กำหนดนโยบาย การจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศยังขึ้นกับศักยภาพของการเจรจา ข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการนิยามผลประโยชน์ของชาติและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย

ฝ่ายเสนอ
1. นายกัญจน์ฐิติ วัฒนาบริรักษ์
2. นางสาวปิยภรณ์ ชอบทำกิจ
3. นางสาวธฤตตนัน บัณฑิตย์
4. นางสาวภรณ์ธิดา จงพิพิธพร

ฝ่ายค้าน
1. นางสาวพิญาวดี สุวิยานนท์
2. นางสาววรัญญา ผู้พิทักษ์ผล
3. นายรชฏ ปราการพิลาส
4. นายชญานิน เตียงพิทยากร


ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีได้ที่นี่
https://rcpt.yousendit.com/614219423/6ae479359070471e2d7c627a2cb14760


ญัตติที่ 2
เขื่อนสาละวินทางเลือกความมั่นคงทางพลังงานของชาติ

ดูเหมือนว่าในโลกปัจจุบัน พลังงานจากน้ำจะกลายเป็นทางเลือกของความมั่นคงทางพลังงานของหลายประเทศไปแล้ว ภายใต้สถานการณ์ของการเก็งราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่เคยถูกต่อต้านอย่างรุนแรงทั่วโลกกำลังจะกลับมาใหม่ โดยมีเหตุผลที่หนักแน่นกว่าเดิม คือการลดภาวะโลกร้อน การโต้เถียงเรื่องการสร้างเขื่อนในประเด็นของการชั่งน้ำหนักระหว่างผลได้ผลเสีย ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและการดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อเขื่อนนั้นถูกสร้างบนแม่น้ำนานาชาติ เช่นเขื่อนบนแม่น้ำโขงในประเทศจีน และในประเทศลาว พม่า ซึ่งล้วนแต่มีระบบการเมืองปิดและเป็นเผด็จการ การส้รางเขื่อนที่ขยายขอบเขตออกไปนอกประเทศอาจเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ขณะเดียวกันอาจเป็นการผลักต้นทุนของการสร้างเขื่อนไปให้ประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันน้อยกว่า มีการพึ่งพาเงินตราต่างประเทศ มีเงื่อนไขของการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ดี เขื่อนในยุคใหม่จึงเป็นทางเลือกที่ยากแก่การตัดสินใจ


ฝ่ายเสนอ
1. นางสาวปัญจรัตน์ ทองมีเพชร
2. นางสาวสิริอาภา ทองโชติ

ฝ่ายค้าน
1. นายธนพัฒน์ จันทร์ดิษฐวงศ์
2.นายพันธ์พงศ์ อัศวชัยโสภณ
3.
นายภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์


ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ เขื่อนสาละวินได้ที่นี่
http://rcpt.yousendit.com/614218527/69cb0dddfd6ffdf456044d58e2e0eeb1


อัมพวา พาเพลิน สำเริง สำราญ





เชื่อแน่ว่าหากกล่าวถึงอำเภออัมพวาแล้วคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จัก เพราะชื่อเสียงอันโด่งดังของตลาดน้ำอัมพวา แต่การมาลงพื้นที่ภาคสนามในครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความรู้จัก กับอำเภออัมพวาให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาที่พบ รวมไปถึงโครงการต่างๆที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาต่างๆ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราได้รับโอกาสในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะทำให้เราแต่ละคนสามรถเก็บเกี่ยวประสบการณ์หรือได้แง่คิด มุมมองใหม่ๆไม่มากก็น้อย

ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความรู้จักกับจังหวัดสมุทรสงครามที่เป็นที่ตั้งของอำเภออัมพวากันก่อน จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดในภาคกลาง มีพื้นที่ขนาดเล็กที่สุดของประเทศ จำนวนประชากรน้อยเป็นอันดับสองเลยของประเทศเลยทีเดียว มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทยและจังหวัดอื่นใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็น ราชบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านและมีลำคลองมากมาย ทำให้เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมทะเล ดินเป็นลักษณะของดินเหนียวปนทราย

การปกครองในระดับส่วนภูมิภาคนั้นก็ประกอบไปด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา และ 33 ตำบล ประชากรในจังหวัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง ในส่วนของอุตสาหรรมขนาดเล็กก็มี เช่น อุตสาหกรรมอาหาร และ อุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ และที่มารายได้ที่สำคัญอีกประการก็ คือ การท่องเที่ยว ส่วนสำคัญและขาดไม่ได้เลยจะต้องจดจำกันให้ได้ ก็คือคำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสงคราม นั่นคือ เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยานร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลม

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสงครามนั้นก็มีความหลากหลายและกิจกรรมมากมายให้ทำกันสำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากคงหนีไม่พ้นดอนหอยหลอดที่มีหอยหลอดชุกชุมมาก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมากมายต่างพากันมาจับหอยหลอด มีทั้งเทคนิควิธี และยังได้รับประทานเมนูต่างๆที่มีหอยหลอดเป็นส่วนผสมอีกด้วย หรือ ถ้าใครชอบไหว้พระ ที่นี่ก็มีวัดชื่อดังอีกด้วย นั่นก็คือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ที่ภายในมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อบ้านแหลม หรือจะไปกันที่วัดศรัทธาธรรมที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน อีกทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใตชาวมอญ อีกด้วย

หลังจากที่เราได้รู้จักกับจังหวัดสมุทรสงครามมากันพอสมควรแล้ว เราก็จะมาทำความรู้จักกับอำเภออัมพวาที่เราจะลงพื้นที่กันในครั้งนี้ อำเภออัมพวานั้นประกอบด้วย 12 ตำบลและ96 หมู่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง แน่นอนว่าหากพูดถึงอำเภออัมพวา คงไม่มีใครไม่นึกถึง ตลาดน้ำอัมพวา หรือตลาดน้ำยามเย็น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจากเดิมที่การคมนาคมทางบกได้เข้ามาและลดความสำคัญการคมนาคมทางน้ำไปนั้น ตลาดน้ำอัมพวาได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยความหมายมั่นปั้นมือของประชาชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ และชาวบ้านก็พายเรือนำสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนเก็บความประทับไม่รู้กี่ครั้งจากการได้สัมผัสกับธรรมชาติของวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ และการท่องเที่ยวในรูปแบบของโฮมสเตย์ที่หลีกหนีจากชีวิตความวุ่นวายในเมืองมาอยู่ท่ามกลางสวนผลไม้ วิถีชีวิตริมน้ำ สัมผัสบรรยากาศชนบทอย่างแท้จริง ตลาดน้ำอีกแห่งหนึ่งที่รักษาวิถีชีวิตชุมชนได้อย่างแนบแน่นก็คงเป็น ตลาดน้ำท่าคา แทบไม่น่าเชื่อว่านอกจากการซื้อขายสินค้ากันนั้น เรายังสามารถพบการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ที่นี่อีกด้วย แต่ตลาดน้ำนี้จะมีในช่วงเช้า ท่ามกลางบรรยากาศเรือกสวนไร่นาต่างๆ อัธยาศัยไมตรีของผู้คน ทำให้นักท่องเที่ยวเก็บความประทับใจกลับบ้านได้ไม่แพ้ตลาดน้ำอัมพวาเช่นกัน หากใครชอบไหว้ทำบุญทำทานละก็ อำเภออัมพวานี้ก็มีวัดต่างๆให้เราได้ไปเคารพสักการะกัน ไม่ว่าจะเป็นวัดอัมพวันเจติยาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเสรีรังคารและพระบรมอัฐิของรัชกาลที่2อีกด้วย สถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งและยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกด้วย นั่นก็คือ อุทยานรัชกาลที่2 มีทั้งโรงละคร สวนพันธุ์ไม้วรรณคดี อาคารเก็บเครื่องดนตรีไทย อาคารซ้อมโขน ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ศึกษา สืบทอดและ เผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงาม อีกด้วย

เพื่อนๆครับ ถึงแม้จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวาจะเป็นสวรรค์บนดินสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ก็มีปัญหาที่กำลังคลืบคลานเข้ามา ซึ่งจะขอสรุปปัญหาให้เพื่อนๆ ได้ทราบโดยคร่าวๆ กันนะครับ
ปัญหาของจังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวา
การพัฒนาจังหวัดของทางภาครัฐที่แล้วๆได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และขณะเดียวกัน ประชาชนก็มีส่วนอยู่มิใช่น้อยที่จะช่วยพัฒนา และรักษาสภาพความเป็นอยู่
ของจังหวัดเอาไว้ ทวาภายใต้พรมแดงของการพัฒนานั้น ก็มีปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมแดง และรอวันปะทุขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางจังหวัด และอำเภออัมพวากำลังประสบอยู่ ดังนี้
1)ขยะมูลฝอยที่มีมากเกินขีดความสามารถของการจัดการ
2) การเปิดรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่กำลังนำความร้าวฉานมาสู่ชุมชนใน
จังหวัด และอำเภออัมพวา อันจะนำผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม
มีคำคมอยู่บทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ปัญหามีให้คนแก้” ก็เห็นจะเป็นจริงนะครับ เพราะ เป็นที่แน่นอนว่าชาวแม่กลองต่างก็จะไม่ยอมให้ปัญหาต่างๆเข้ามาถาโถม จนอาจจะนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังในอนาคต ฉะนั้นทางจังหวัดสมุทรสงครา และอำเภออัมพวาจึงได้ออกแนวทางยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ครอบคลุมต่อปัญหาทั้งหลายในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยจะขอสรุปให้เพื่อนได้รับทราบเป็นแนวทางอย่างคร่าวๆดังนี้ นะครับ

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวา
1.วิสัยทัศน์ของจังหวัด
“เป็นเมืองแห่งอาหารทะเล และผลไม้ปลอดสารพิษ ศูนย์กลางการพักผ่อน และการท่อง
เที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางลำคอลองระดับชาติ ดินแดนแห่งประชาชนรักถิ่นกำเนิด
2. เป้าหมายของจังหวัด
จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์อยู่ในตัวเอง เพราะ เป็นเมืองที่มีการเกษตรกรรม และทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยวที่หลากหลาย สามารถบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การที่จะได้ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อนๆก็คงจะได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด และเป็นจุดหมายของการพัฒนาเมืองแม่กลอง เพราะพวกเรากำลังจะได้เห็นนักท่องเที่ยวที่มาอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเป็นการช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชาวแม่กลอง พร้อมๆกันนี้ พวกเราก็จะได้เห็นความตั้งใจชองทางจังหวัดที่พยายามรักษาคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว เฉกเช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางลำคลอง การอนุรักษ์ความสมดุลของกรท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมของดีของเมืองแม่กลองที่พวกเราควรต้องลิ้มลอง นั่นคือ “อาหารทะเล และสินค้าทางการเกษตร” ให้ได้มาตรฐาน เพื่อพูนรายได้แก่ชาวประมง เกษตรกร และผู้ประกอบการร้านอาหารให้มีรายได้สูงขึ้น นอกจากนี้ เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเมืองแม่กลองที่อีก 75 จังหวัดไม่มี จะมีก็แต่ดินแดนแห่งเมืองหอยหลอดเท่านั้นล่ะครับ ซึ่งก็คือ ภายในตัวจังหวัดไม่มีร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นของทั้งกลุ่มทุนภายใน และนอกประเทศ ประกอบกับชาวแม่กลองเองก็พอใจที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตในจังหวัด เอกลักษณ์ตรงจุดนี้ เป็นอีกเป้าประสงค์หนึ่งของทางจังหวัดฯ ที่มุ่งรักษาเอาไว้ให้คงอยู่ท่ามกลางการพัฒนากระแสหลัก
3.ยุทธศาสตร์ของจังหวัด และอำเภออัมพวา
1) การควบคุม และยกระดับภาคการประมงให้ได้มาตรฐาน และปลอดสารพิษ
2) การควบคุม และยกระดับการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ
3) การปลุกจิตสำนึกให้ชาวสมุทรสงครามรักถิ่นกำเนิด

แค่นี้ยังไม่จบนะครับเพื่อนๆ มาถึงส่วนสุดท้ายของเนื้อหาทั้งหมดที่ผมจะสรุปให้เพื่อนๆได้ทราบ เนื้อ หาส่วนสุดท้าย ก็จะเป็นการแนะนำโครงการหนึ่งในอำเภออัมพวาพอเป็นน้ำจิ้มที่จะช่วยให้เพื่อนๆได้อยากมีส่วนร่วมต่อการลงพื้นที่ครั้งนี้ โครงการดังกล่าว คือ โครงการคือโครงการใด โปรดอดใจอีกสักครู่ครับ
โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชิวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
อำเภออัมพวาที่พวกเราๆกำลังจะได้ลงพื้นที่สำรวจกันนี้นะครับ เป็นอำเภอหนึ่งที่หน่วยงานของภาครัฐต่างที่จะเข้าไปตั้งโครงการในพื้นที เพราะ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย และในที่นี้จะขอแนะนำโครงการหนึ่งที่เป็นโครงการที่ทุ่งอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนอัมพวา และเป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนในอัมพวาต่างมีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง โครงการนี้ก็คือ โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชิวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ความเป็นมา
เมื่อปี 2545 นางสาวประยงค์ นาคะวะรังค์ได้น้อมเกล้าฯถวายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อใช้ในการสาธารณประโยชน์แก่ชุมชน
โครงการนี้เป็นโครงการในพระราชดำริ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนา และอนุรักษ์วิถีชุมชนอัมพวาในด้านสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ โดยอาศัยบ้านพัก และอาณาเขตรอบนอกบ้านพักมาใช้ให้เกิดอรรถประโยชน์อย่างสูงที่สุด นอกจากมูลนิธิชัยพัฒนาจะรับผิดชอบภารกิจต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีกรมวิชา
การเกษตร ร่วมมือกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรภายในท้องถิ่น มารับผิดชอบในการดูแลรักษาสภาพบ้านเรือน สวนผลไม้ รวมทั้งการจัดหาพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร และบุคคลทั่วไป

ความมุ่งหมาย
โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม มุ่งหวังที่จะเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับกิจ
กรรมท้องถิ่น และกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากจากพื้นที่เรือนแถวไม้ริมน้ำ สวนผลไม้ มาใช้เป็นสถานที่บูรณาการความรู้ และสร้างจิตสำนึกร่วมของชาวสมุทรสงคราม

การดำเนินงานในอนาคต
หน่วยงานที่รับผิดชอบมีความคิดที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทุกประการ ทั้งนี้การดำเนินงานในอนาคต ทางหน่วยงานจะจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แลผู้ทรงคุณวุฒิ มาช่วยดูแลกำกับการดำเนินงาน รวมทั้งว่าจ้างผู้จัดทำโครงการที่มีความเข้าใจในวิถีชีวิตชุมชน และเชี่ยวชาญในการจัดการเชิงธุรกิจ มาบริหารจัดการในพื้นที่แห่งนี้ ในส่วนของสวนผลไม้ และการให้บริการด้านวิชาการเกษตร สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจะร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานในท้องถิ่นระดับต่างๆ และกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่มาร่วมจัดทำกรอบแผนการดำเนินการพัฒนาสวนผลไม้ เพื่อเป้าหมายระยะยาว ซึ่งก็คือ การเป็นแหล่งศึกษาความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง การรักษาระบบนิเวศวิทยาของสวนผลไม้ และการบริการด้านวิชาการเกษตรของอำเภออัมพวา และชุมชนใกล้เคียง

“ สมุทรสงครามยังมีอะไรดีๆอีกมากมายที่กำลังรอพวกเราให้เข้าไปเรียนรู้อยู่นะครับ”