8.18.2551

การควบคุมแรงงานต่างด้าว

นางสาวกิตยาพรรณ ทองมาก

แรงงานต่างด้าวและทางแก้ปัญหา

ปัจจุบัน มีคนต่างด้าวที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแรงงานพม่า กัมพูชา ลาว ที่พากันลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย จุดประสงค์ที่เข้ามาคือการเข้ามาทำงานซึ่งอาชีพที่ทำมักจะเป็น แรงงานตามงานก่อสร้างหรืองานที่ใช้แรงงานหนักๆ ในปัจจุบันนี้ได้มีการควบคุมแรงงานต่างด้าวโดยยกเลิกพระราชบัญญัติเดิมและ ออกใหม่เป็น พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว2551 ตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดไว้ว่า คนต่างด้าว หมายถึงบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย โดยภายในพระราชบัญญัติ มีการกำหนดกฎระเบียบของคนต่างด้าวไว้ด้วย โดยระบุไว้เป็น 6 หมวด คือ
หมวดที่ 1 การทำงานของคนต่างด้าว

หมวดที่ 2 กองทุนเพื่อส่งเสริมคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร

หมวดที่ 3 คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว

หมวดที่ 4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การทำงานของคนต่างด้าว

หมวดที่ 5 กำกับดูแล

หมวดที่ 6 บทกำหนดโทษ

โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ อีกทั้งมีการตั้งสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว(สบต.) ซึ่ง สังกัดกรมจัดหาแรงงาน กระทรวงแรงงานขึ้นมาเพื่อดูแลงานในด้านควบคุมหรือจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว และมีการแบ่งส่วนราชการเป็นการเฉพาะ โดยงานควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว เป็นแผนกหนึ่งของ “แผนกควบคุมอาชีพคนต่างด้าว”โดยในปี2516ได้รับการจัดตั้งเป็นขึ้นเป็น“กองงานคนต่างด้าว”โดยมีหน้าที่รับผิดชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ โดยจะพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าว ทั้งนี้ภายในปีในปี 2546สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าวจัดแบ่งส่วนราชการเสียใหม่โดยมีการแบ่งงานออกเป็น 6 กลุ่มและ1 งาน คือ
-งานบริหารงานทั่วไป

- กลุ่มพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว

-กลุ่มพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าวในระบบ

-กลุ่มพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าวนอกระบบ

-กลุ่มพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมการลงทุน

-กลุ่มพิจารณาการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว”


โดย ในแต่ละปีมีคนต่างด้าวจำนวนมากที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งมีทั้งคนต่างด้าวที่ถูกกฎหมายคือมีการมาขอใบอนุญาตทำงานและอีกประเภท เป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยโดยมิชอบด้วยกฎหมายคนเข้า เมือง ดังนั้นรัฐไทยจึงต้องจัดให้มีหน่วยงานดูแลงานในส่วนนี้โดยเฉพาะ ทั้ง นี้กลุ่มพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว คือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงซึ่งมีอำนาจหน้าที่คือ ศึกษาและวิเคราะห์และเสนอแนะนโยบายด้านแรงงานต่างด้าว พัฒนารูปแบบและกระบวนการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว จัดทำทะเบียนคนต่างด้าวและเครือข่ายสารสนเทศแรงงานต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงาน ดำเนินการเกี่ยวกับเลขานุการของคณะกรรมการคณะอนุกรรมการและคณะทำงานซึ่งได้ รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทำ งานของคนต่างด้าว

คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพในจะมีไทยจะถูกควบคุมโดยในบัญชี ท้ายของพระราชกฤษฎีกากำหนดอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ.2543 และ มีจำนวนอาชีพที่ห้ามทำทั้งสิ้น39รายการเช่น งานก่ออิฐ งานแกะสลักไม้ งานทำเครื่องเขิน เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการ “ส่งเสริมและคุ้มครองการประกอบอาชีพของคนไทย” คน ต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะพากันลักลอบเข้ามาตามเขตชายแดนต่างๆของไทยซึ่งรัฐสามารถจับกุม คนเหล่านั้นได้เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้น การ ควบคุมของรัฐต้องสร้างกรอบกติกาที่ชัดเจน กฎหมายก็ต้องมีความรัดกุมซึ่งถ้าหากเกิดช่องโหว่ของกฎหมายแล้วจะนำมาซึ่ง กลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ และผลท้ายที่สุดก็จะเกิดเป็นขบวนการค้ามนุษย์ขึ้นมา โดยในการจัดการกับปัญหาหาแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบนั้นต้องยึดหลักของ กฎหมายและหลักเมตตาธรรมควบคู่กันไป แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของชาติ คำนึงถึงการให้สิทธิของคนในชาติมีงานทำและให้การดูแลคุ้มครองแรงงานของเราก่อน “โดยวิธีปฏิบัติการในการควบคุมแรงงานต่างด้าวนั้นจะต้องดูทั้งสองด้านคือsupply sideและdemand side ซึ่งsupply side ก็คือด้านของแรงงานที่เข้ามาอยู่ภายในประเทศไทยจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงด้านdemand side ว่า นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องการแรงงานมากน้อยเพียงใดและแรงงานใดที่ควรจะ ให้แรงงานไทยทำหรือแรงงานใดที่คนไทยไม่ทำแล้วซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตาม ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้คนไทยจะทำงานที่เป็นลักษณะที่ใช้ความชำนาญมากขึ้น ส่วนแรงงานไร้ฝีมือจึงต้องอาศัยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทดแทนนับได้ว่า เป็นวัฏจักรของขบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ” ดังนั้นหากทุกคนมีทัศนคติดังกล่าวร่วมกันแล้วก็จะทำให้การแก้ปัญหาในเรื่องแรงงานง่ายขึ้น

หาก มองในภาคปฏิบัติแล้ว แรงงานต่างด้าวมักได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทั้งในเรื่องค่าตอบแทน การประกันสุขภาพ และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าคนต่างด้าวจำพวกนี้เป็นประเภทที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย และก็ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้นวิธีการที่จะขจัดปัญหาดังกล่าวก็คือ แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายต้องได้รับใบอนุญาตในการทำงานโดยต้องมาขึ้น ทะเบียนทั้งนี้เพราะป็นการดึงให้คนเหล่านั้นขึ้นมาอยู่ภายใต้การดูแลและคุ้ม ครองจากรัฐตามหลักของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน
ในการนี้ปัญหาที่คนต่างด้าวต้องการเรียกร้องจากอำนาจรัฐก็คือ

-มีการเปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนคนต่างด้าวได้ตลอดเวลายกเลิกระบบการประกันตัวและให้จัดทำเอกสาร หรือสื่อที่เป็นภาษาของแรงงานข้าม ชาติเหล่านั้น

- พัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายแรงงานให้มีการก่อตั้งสหภาพแรงงานและสามารถเข้า ระบบประกันสังคมมีมาตรฐานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจน

-มีนโยบายคุ้มครองแรงงานไม่ให้นายจ้างถูกยึดบัตรอนุญาตการทำงาน เป็นต้น

โดย เหล่านี้เป็นข้อเรียกร้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของแรงงานข้ามชาติหรือแรง งานต่างด้าวที่ต้องการศักดิ์ศรีความเท่าเทียมในฐานะแรงงานประเภทหนึ่งซึ่ง พวกเขาก็ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย

กฎหมาย ต่างๆที่ใช้ควบคุมแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันมีมากมายหลายฉบับที่เข้ามาดูแล เช่นกฎกระทรวงทั้ง10กว่าฉบับ หรือระเบียบต่างๆของการเข้าเมืองและการขอวีซ่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้กฎหมายหลายฉบับก็มีความไม่เสมอภาคมากนัก เช่น ปี2551 นี้ได้มีการออกพรบ.การทำงานคนต่างด้าวเพื่อดูแลควบคุมแรงงานต่างด้าวในไทย แต่เมื่อมีการตรวจสอบเนื้อหาสาระของพรบ.ดังกล่าว ได้มีการเรียกร้องของกลุ่มเครือข่ายการปฏิบัติการด้านแรงงานข้ามชาติ(ANM) ได้มีการเรียกร้อง 6ประเด็นทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงแรงงานเข้าไปดูความถูกต้องและชอบธรรมตามหลัก สิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติที่ควรจะได้รับ ตัวอย่างเช่นเรื่องการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถ กระทำได้ ฉะนั้นต้องมีการเปลี่ยนสาระสำคัญ

กล่าว คือ ประเทศไทยมีการควบคุมแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบโดยมีการจัดตั้งตามที่ กระทรวงแรงงานกำหนด อีกทั้งมีหน่วยงานเฉพาะที่กำกับดูแล นั่นคือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ซึ่งสังกัดกรมจัดหาแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดย การแก้ปัญหาในเรื่องของคน ต่างด้าวนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อสิทธิของคนไทย ทั้งนี้องค์กรของรัฐจะกระทำการเพื่อมนุษยธรรมและเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยหากว่าคนต่างด้าวเหล่านั้นยังเป็นคนไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ก็ล้วนแต่จะเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น โรคติดต่อ อาชญากรรม การกดขี่แรงงาน การค้ามนุษย์ ปัญหาความมั่นคง เป็นต้นซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติอย่างแน่แท้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาจึงต้องมองอย่างเป็นระบบ อย่ามองเพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่ กระนั้นก็ตามประเด็นที่สำคัญในการควบคุมแรงงานต่างด้าวคือต้องคำนึงในเรื่อง หลักสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้ง ด้วยเพราะอย่างไรก็แล้วแต่แรงงานต่างด้าวเหล่า นั้นก็เป็นเพื่อนมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับเราทุกคน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

No deposit casino online - xn--o80b910a26eepc81il5g
Casino online – カジノ シークレット Free Spins bonus – No deposit required. The following online casinos are listed on our List 우리카지노 계열사 of Casino online bonuses: 1. Baccarat Bonus: 100% up to $10,000 Free Bets: $250 No 메리트카지노 Deposit Free on Signup and a 50%