8.04.2551

เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา

นายรดมยศ มาดเจือ

"เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา ภาระใหม่ของเกษตรกร
"


เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา
หมายถึง การทำเกษตรกรรมแบบรับจ้างซึ่
งทำให้เกิด “ สัญญาทาส ” ขึ้นมา และกลายเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการหากินของบริษัทเกษตรอุตสาหกรรม ที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงเองแต่ปัดภาระนี้ไปยังเกษตรกรเป็นผู้รับแทน ทำให้เกษตรกรเกือบทั่วโลกได้รับผลกระทบต่อการเป็นทาสยุคใหม่ในที่ดินของตัวเองหรือโรงเลี้ยงสัตว์ของตัวเองแบบดิ้นไม่หลุด เพราะว่าเป็นการติดกับดักลงทุนล่วงหน้าไปแล้วโดยการกู้ธนาคาร หรือแหล่งการเงินอื่นๆที่ทำให้ต้องหารายได้มาชำระดอกเบี้ยเป็นประจำ

เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา เป็นระบบการทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเหมือนกับตลาด ของกลุ่มทุนการเงินโดยขึ้นกับเงื่อนไข 4 ประการ คือ 1. ราคา 2.เวลา 3.ปริมาณ 4.คุณภาพสินค้า ซึ่งหมายความว่าผลผลิตต้องเก็บเกี่ยวเสร็จหรือโตได้ตามขนาดมาตรฐานที่กำหนด โดยบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมผู้รับซื้อ และในบางกรณีบริษัทเองก็เป็นผู้ลงทุนด้วย หากผลผลิตไม่ครบตามเงื่อนไข 4 ประการ ผู้ซื้ออาจจะไม่รับซื้อ หรือปรับให้ราคาต่ำกว่าที่ตกลงกัน

ลักษณะของเกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา จะมี 2 รูปแบบ คือ 1. สัญญาแบบประกันค่าแรง 2. สัญญาแบบประกันรับซื้อผลผลิต

1.การทำสัญญาแบบประกันค่าแรง คือ สัญญาที่บริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดในด้านพันธุ์ หัวอาหาร ปุ๋ย ยารักษาโรค และย่าฆ่าแมลง โดยจัดทำเป็นสินเชื่อล่วงหน้าหากราคาปัจจัยการผลิตเหล่านี้ขึ้นหรือลง บริษัทเป็นผู้รับความเสี่ยง ส่วนเกษตรกรต้องลงทุนด้านที่ดินและโรงเรือน เกษตรกรจะได้รับความเสี่ยงเพียงในด้านผลผลิตที่ต้องให้ได้มาตรฐานเท่านั้นและเกษตรกรที่ลงทุนเรื่องที่ดินและแรงงาน ซึ่งหมายถึง การสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และค่าใช้จ่ายแปรผันต่างๆ ถ้าเกษตรกรไม่มีเงินบริษัทจะค้ำประกันเงินกู้ให้ ส่วนค่าแรงคิดจากราคารับซื้อผลผลิตตามที่ตกลงกัน และการทำสัญญาประเภท บริษัทจะเป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ อาหารสัตว์และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมมาให้และโดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในเครือ ซึ่งเป็นวิธีการอีกแบบหนึ่งในการระบายสินค้าที่มีต้นทุนต่ำแต่ได้ในราคาที่สูงแบบหนึ่ง ถ้าเกษตรกรที่ฝ่าฝืนไม่ยอมใช้ตาม ที่บริษัทกำหนดก็จะถูกลงโทษ โดยการงดส่งอาหาร หรือไม่ขายพันธุ์ให้ เพราะบริษัทจะอ้างว่าผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ไม่รับซื้อสินค้าหรือ ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าตลาดมากๆ อันเป็นการลงโทษที่โหดร้ายต่อเกษตรกรอย่างมาก

2. สัญญาแบบประกันรับซื้อผลผลิต การทำสัญญาประเภทนี้ บริษัทได้ทำสัญญารับซื้อ ไก่หรือหมูล่วงหน้าในราคาตายตัว เช่น 5 บาท หรือ 10 บาทต่อไก่ 1 กิโลกรัม ส่วนเกษตรกรจะเป็นผู้ลงทุนสร้างโรงเรือน และปัจจัยการผลิตอื่นๆเอง โดยบริษัทจะทำสัญญารับซื้อผลผลิตในราคาประกันตามที่ตกลงกันไว้อย่างมีเงื่อนไขเพื่อที่ว่าจะได้ผลผลิตตามมาตรฐานของบริษัท หากว่าเกษตรกรไม่มีทุนบริษัทก็จะค้ำประกันเงินกู้ให้ เพราะ กลุ่มบริษัทต้องการปรับปรุง ระบบการเลี้ยงตามแรงกดดันของตลาดต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศอียูที่มักจะหาข้ออ้างมาเพิ่มมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อที่จะกีดกันสินค้าทางอ้อม ทำให้ต้นทุนสูงเพื่อจะได้ไม่สามารถแข่งขันกับผลผลิตในประเทศของตน

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเกี่ยวกับเกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา คือ การที่รัฐเป็นผู้ส่งเสริมให้เกิด เกษตรกรรมแบบพันธะสัญญาขึ้น เพราะ เพราะรัฐบาลต้องการหลักประกันด้านการผลิต และอยากนำเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ มาใช้เพื่อความก้าวหน้า แต่การทำเช่นนี้ก็เป็นการผลักภาระให้กับชุมชน ทำให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศ มีหนี้สินตามมาอย่างมาก โดยผลกระทบที่เกิดและเห็นได้ชัด คือ การระบาดของไข้หวัดนกที่เกษตรกรทำการเลี้ยงไก่ในระบบฟาร์มเปิด แต่เมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนกขึ้น ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบ เพราะ จะต้องทำลายไก่ให้หมด และต้องแบกภาระต้นทุนมากขึ้น ซึ่งในส่วนของบริษัทก็ไม่ได้ทดแทนค่าเสียหายรัฐบาลก็ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ หรือจ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสมกับความเสียหายของเกษตรกรที่ต้องทำลายไก่ทั้งหมด จริงอยู่ที่ประเทศไทยที่กำลังจะพัฒนามีเกษตรกรรายย่อยเป็น จำนวนมาก ซึ่งเป็นเสมือนผู้ผลิตรายย่อย ดังนั้นเป้าหมายของเขาคือ การมีที่ดินเป็นของตัวเอง และทำธุรกิจขนาดย่อมของครอบครัว ไม่อยากจะสูญเสียที่ดิน และแรงจูงใจหลักในการทำงาน คือ การพัฒนาสถานภาพของตนเองในลักษณะแข่งกันเองกับเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการปกป้องที่ดินและธุรกิจของตนเองจากการคุกคามของกลุ่มทุนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรสมัยใหม่ต้องลงทุนเทคโนโลยีสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตให้ได้มาตรฐาน และสถานการณ์แบบนี้ทำให้เกษตรกรรายย่อยกำลังเผชิญ วิกฤตระยะยาว มีแนวโน้นที่จะล้มละลายสูง และมีแนวโน้มที่จะเป็นกรรมมาชีพรับจ้างในเมืองในภาคเกษตร ส่วนที่พออยู่รอด ต้องเข้าไปผูกพันตนเองกับกลุ่มทุนใหญ่ในเกษตรพันธะสัญญา เช่น การที่เกษตรกรไทยมีสัญญา เลี้ยงไก่กับบริษัท CP หรือบริษัทอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกษตรกร ต้องเข้ามาทำสัญญานี้ เพราะ เกษตรกรรายย่อยไม่มีความสามารถในการระดมทุนและเทคโนโลยีนั้นเอง

และสุดท้ายที่กระผมจะกล่าวถึง คือ เรื่องของผลกระทบต่อการพัฒนา ก็คือเกษตรกรเหมือนกับ สัตว์ที่ติดกับดัก ไม่มีทางจะดิ้นหนีออกไปได้ เพราะว่าได้กู้เงินมาลงทุนไปแล้ว ถ้าจะถอยก็จะหมดตัว เพราะไม่มีเงินจ่ายคืนหนี้เงินกู้ บางบริษัทยังมีเงื่อนไขในสัญญาซื้อว่าขึ้นต่อปริมาณความสามารถของโรงงานซึ่งบางครั้งปิดตัวเองลง บริษัทก็ไม่ยอมรับซื้อ โดยไม่ผิดสัญญา แต่เกษตรกรกลับไม่มีทางออก อาจจะต้องทำลายผลผลิตทั้งหมดทิ้ง จึงทำให้ต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะหลวมตัวเข้าทำสัญญาการเกษตรแบบพันธะสัญญาที่ควบคุมโดยบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมไม่กี่บริษัทในแต่ละประเทศ ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก และการเกษตรแบบพันธะสัญญาได้ทำลายห่วงโซ่อาหารของหลายๆ ประเทศ เพราะเกษตรกรถูกล่อลวงให้ละทิ้งการผลิตพืช ที่เป็นธัญญาหาร หันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือพืชอุตสาหกรรม หรือพืชเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ ก็ต้องใช้สารเคมีช่วยอย่างหนัก เช่น ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ซึ่งสารเหล่านี้เมื่อโดนน้ำชำระ ก็จะไหลซึมลงสู่ดิน ลงสู่น้ำบาดาล และลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง หรือทะเล ไปทำลายห่วงโซ่อาหารในน้ำอีก ทำให้วงจรอาหารตามธรรมชาติถูกทำลาย เมื่อมนุษย์ได้ดื่ม หรือกินสารปนเปื้อนก็จะทำให้เป็นมะเร็ง และโรคอื่นๆ ห่วงโซ่อาหารที่ถูกทำลายทำให้เกิดความอดอยากและโรคระบาด

การเกษตรแบบแบบพันธะสัญญาทำให้ชีวิตของเกษตรกร ต้องไปผูกต่อระบบความไม่แน่นอนของสงครามการค้าในระดับโลก ซึ่งมักจะนำข้ออ้างเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า ผลคือเมื่อตลาดต่างประเทศถูกปิด หรือถูกกีดกัน บริษัทเกษตรอุตสาหกรรม ก็มักจะปัดภาระมาที่เกษตรกร โดยการไม่ยอมรับซื้อผลผลิตตามที่ตกลงกัน โดยอ้างถึงความไม่มาตรฐานต่างๆ โดยไม่ผิดสัญญา การเกษตรแบบพันธะสัญญาจึงเป็นอันตรายและคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรจะมองข้ามกัน

ไม่มีความคิดเห็น: