ประพันธ์ ทับเนียม
สันติอโศก ก่อตั้งโดย พระโพธิรักษ์ (นายรัก รักพงษ์)ใน วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ที่พุทธสถานสันติอโศก ในบริเวณหมู่บ้านใกล้วัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีกลุ่มคนที่ศรัทธาเข้าร่วมประมาณ 60 คน และได้ประกาศแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ไทย ประกาศไม่อยู่ภายใต้กฏระเบียบและการปกครองของมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์ โดยอ้างว่ายึดเอา พระธรรกลุ่มนักบวชสันติอโศก ใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า สมณะ อโศกพระโพธิรักษ์ได้วิจารณ์ถึงความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ไทยและชี้ให้เห็นถึงวิกฤตของลัทธิการพัฒนานิยมและเริ่มก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบบโดยใช้ชื่อว่า ขบวนการสันติอโศกซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับคณะสงฆ์ อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาสามสิบปีจนถึงปัจจุบัน พระโพธิรักษ์ได้ยืนหยัดสร้างชุมชนไทยรูปแบบใหม่ที่มีรากฐานบนพุทธปรัชญาที่ได้รับการตีความใหม่ จนกระทั่ง ในปัจจุบันจากขบวนการสันติอโศกได้เติบโตเป็น ชุมชนอโศก กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย สมาชิกของชุมชนหรือ ชาวอโศกได้ยึดถือเอา ศีล เป็นหลักชี้นำในการดำเนินชีวิต ตลอดจนมีทฤษฎีพัฒนาสังคมที่เรียกว่า ทฤษฎี บุญนิยม เพื่อต่อต้านและล้อเลียน ระบบ ทุนนิยม ที่เป็นระบบหลักครอบงำสังคมไทยในปัจจุบันในที่นี้เราจะให้ความสนใจในกระบวนการสร้างและพัฒนาชุมชน ทั้งมิติด้านในคือภูมิธรรมและมิติด้านนอกคือสังคมศานติสุข ที่มีเศรษฐกิจพอเพียง และพึ่งตนเองได้ ของ ชุมชนชาวอโศกโดยทำการวิเคราะห์รากฐานทางพุทธปรัชญาที่มีการตีความใหม่โดยพระโพธิรักษ์ ตลอดจนการนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาสังคมที่แตกต่างไปจากลัทธิการพัฒนากระแสหลัก และกลายเป็นโลกทัศน์ และวิถีชีวิตของชาวอโศก หลังจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนอโศกและสังคมภายนอกชุมชน ตลอดจนความสัมพันธ์กับภาครัฐ ทั้งในช่วงเวลาปัจจุบันและแนวโน้มในอนาค
กล่าวได้ว่าสันติอโศก ก่อตัวขึ้นเพื่อต้านระบบทุนนิยมที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ อย่างเช่น กระแสบริโภคนิยมแบบสุดๆ กระแสกิเลสตัณหานิยม และลัทธิตัวใคร ตัวมันที่แพร่ระบาดไปทั่วประเทศไทย จนผลักดันให้พระจำนวนหนึ่งประกาศต่อต้านกระแสทุนนิยม ซึ่งพวกเขาได้นำเสนอทฤษฎีการสร้างชุมชนใหม่ในนามของระบบบุญนิยมขึ้นมาหัวใจหลักคือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐานคิดหลักในการปฏิเสธระบบทุนนิยม
หลักบุญนิยมโดยมีฐานคิดหลักที่สำคัญ ดังนี้คือ
1. ศาสนาบุญนิยม คือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐาน อย่างเช่น การถือศีล 5 ตามหลักพุทธศาสนา และต้องทานมังสวิรัติ
2. การศึกษา บุญนิยมที่สอนให้นักศึกษาเสียสละ รับใช้สังคม 3. เศรษฐกิจบุญนิยม กินน้อย ใช้น้อย ทำงานมาก ไม่แสวงหากำไร 4. วัฒนธรรมบุญนิยม วัฒนธรรมพุทธ ที่เน้นความเรียบง่าย 5. การเมืองบุญนิยม เป็นการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ทุกชีวิตมีอิสรภาพ และเสรีภาพ และทำเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง
ระบบบุญนิยมนี้สะท้อนถึงความสามารถในการคิดค้น พัฒนา และดัดแปลง ความเชื่อทางพุทธศาสนาเดิม และนำเอาความเชื่อดังกล่าวมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายที่เชื่อมกับการสร้างชุมชนพุทธ โดยสร้าง ความเป็นชุมชน และวัฒนธรรมที่เอื้ออาทร และปฏิเสธความเป็นอภิมหานครแบบทุนนิยม และความเป็นปัจเจกชนนิยม
วิจารณ์แนวการพัฒนาตามแนวทางบุญนิยมของสันติอโสก
ในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าคิดว่าแม้หลักการบุญนิยมของสันติอโศกได้เป็นการสร้างชุมชนและวัฒนธรรมที่เอื้ออาทรต่อกันแต่สิ่งที่สันติอโศกได้พัฒนาตามแนวบุญนิยมนั้นเป็นการทวนกระแสของระบบทุนนิยมที่มีลักษณะสุดโต่งเกินและดูเหมือนจะแปลกแยกจากสังคมที่เป็นอยู่ไปเช่น การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งแม้ในพระธรรมวินัยก็ไม่ได้ห้ามไห้พระฉันเนื้อและ การที่นักบวชได้มายุ่งกับการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่ดูไม่เหมาะสมเพราะนักบวชควรที่จะทำกล่อมเกลาเพื่อให้ฆาราวาสตั้งมั่นอยู่ในความสงบมากกว่าที่จะมารวมกันประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการที่สันติอโศกตั้งชุมชนบุญนิยมของตนขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างรัฐซ้อนรัฐขึ้นมาดูเป็นการสร้างความแบ่งแยกระหว่างคนที่อยู่ในรัฐไทยด้วยกัน
กล่าวได้ว่าสันติอโศก ก่อตัวขึ้นเพื่อต้านระบบทุนนิยมที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ อย่างเช่น กระแสบริโภคนิยมแบบสุดๆ กระแสกิเลสตัณหานิยม และลัทธิตัวใคร ตัวมันที่แพร่ระบาดไปทั่วประเทศไทย จนผลักดันให้พระจำนวนหนึ่งประกาศต่อต้านกระแสทุนนิยม ซึ่งพวกเขาได้นำเสนอทฤษฎีการสร้างชุมชนใหม่ในนามของระบบบุญนิยมขึ้นมาหัวใจหลักคือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐานคิดหลักในการปฏิเสธระบบทุนนิยม
หลักบุญนิยมโดยมีฐานคิดหลักที่สำคัญ ดังนี้คือ
1. ศาสนาบุญนิยม คือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐาน อย่างเช่น การถือศีล 5 ตามหลักพุทธศาสนา และต้องทานมังสวิรัติ
2. การศึกษา บุญนิยมที่สอนให้นักศึกษาเสียสละ รับใช้สังคม 3. เศรษฐกิจบุญนิยม กินน้อย ใช้น้อย ทำงานมาก ไม่แสวงหากำไร 4. วัฒนธรรมบุญนิยม วัฒนธรรมพุทธ ที่เน้นความเรียบง่าย 5. การเมืองบุญนิยม เป็นการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ทุกชีวิตมีอิสรภาพ และเสรีภาพ และทำเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง
ระบบบุญนิยมนี้สะท้อนถึงความสามารถในการคิดค้น พัฒนา และดัดแปลง ความเชื่อทางพุทธศาสนาเดิม และนำเอาความเชื่อดังกล่าวมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายที่เชื่อมกับการสร้างชุมชนพุทธ โดยสร้าง ความเป็นชุมชน และวัฒนธรรมที่เอื้ออาทร และปฏิเสธความเป็นอภิมหานครแบบทุนนิยม และความเป็นปัจเจกชนนิยม
วิจารณ์แนวการพัฒนาตามแนวทางบุญนิยมของสันติอโสก
ในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าคิดว่าแม้หลักการบุญนิยมของสันติอโศกได้เป็นการสร้างชุมชนและวัฒนธรรมที่เอื้ออาทรต่อกันแต่สิ่งที่สันติอโศกได้พัฒนาตามแนวบุญนิยมนั้นเป็นการทวนกระแสของระบบทุนนิยมที่มีลักษณะสุดโต่งเกินและดูเหมือนจะแปลกแยกจากสังคมที่เป็นอยู่ไปเช่น การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งแม้ในพระธรรมวินัยก็ไม่ได้ห้ามไห้พระฉันเนื้อและ การที่นักบวชได้มายุ่งกับการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่ดูไม่เหมาะสมเพราะนักบวชควรที่จะทำกล่อมเกลาเพื่อให้ฆาราวาสตั้งมั่นอยู่ในความสงบมากกว่าที่จะมารวมกันประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการที่สันติอโศกตั้งชุมชนบุญนิยมของตนขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างรัฐซ้อนรัฐขึ้นมาดูเป็นการสร้างความแบ่งแยกระหว่างคนที่อยู่ในรัฐไทยด้วยกัน
2 ความคิดเห็น:
โหศาสนาพุทธเรายังมีพวกมารศาสนาแบบนี้มาอีกน่าสงสารศาสนาพุทธมากครับศาสนาพุทธกำลังตกอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วงมีทั้งภัยภายในเเละภัยภายนอก
ทำทีเป็นพระอรหันต์อย่าหันเกินไปละกันเดี๋ยววินหัว
แสดงความคิดเห็น