ๆ
แรงงานเด็กภาษาอังกฤษเรียกว่า Child Labour โดยความหมายของแรงงานเด็ก หมายถึง การใช้เด็กทำงานในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อเด็กหรือมีการเอารัดเอาเปรียบเด็กจนเกินไป แรงงานเด็กถือได้ว่าเป็นแรงงานของเด็กอายุที่ต่ำกว่าขั้นที่กำหนดไว้คือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15ปีตามองค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้นิยามความหมาย สำหรับงานนั้นเป็นการใช้งานที่มีอันตรายต่อเด็กหรือส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจหรือศีลธรรมของเด็ก และ รูปแบบของแรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด ได้แก่ การใช้แรงงานเยี่ยงทาส การค้ามนุษย์ แรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ การบังคับเกณฑ์ แรงงานเพื่อการสงคราม การค้าประเวณี การผลิตสื่อลามก และกิจกรรมต่างๆที่ผิดกฎหมาย สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งไม่ครอบคลุมลูกจ้างภาคเกษตรกรรม และลูกจ้างที่รับงานไปทำที่บ้าน ได้กำหนดอายุขั้นต่ำของ ลูกจ้างคือ 15 ปี แรงงานเด็กตามกฎหมายคือ ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่15ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง18 ปีบริบูรณ์
จากความหมายของแรงงานเด็ก จะเห็นว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยสภาพของเด็กแล้วอยู่ในสภาวะการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย ความคิดความรู้ หากเมื่อเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดอาหารที่เพียงพอต่อโภชนาการ ขาดสภาพแวดล้อมที่ดีนั้น เด็กก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบของการทำงานในการใช้แรงงานแทนที่การหาความรู้ การหาความสนุกสนานตามวัยเด็กๆนั้น กระบวนการใช้ความคิดหรือวิธีการดำเนินชีวิตก็เปลี่ยนไป จากที่เด็กควรนอนหลับอย่างเพียงพอก็ต้องออกไปทำงานอดหลับอดนอน เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน เพื่อเปลี่ยนแปลงจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจเด็ก เมื่อยังไม่ถึงวัยในการใช้แรงงานย่อมจะมีภาวะกำลังที่อ่อน การทำงานซึ่งอาจจะขัดแย้งต่อการบังคับกำลังของนายจ้างทำให้เกิดการทำร้ายทารุณร่างกายเพื่อให้เกิดความพอใจในผลผลิตที่ได้ เด็กเมื่อเกิดความตึงเครียดทุกวันแตกต่างจากเด็กอื่นๆที่ควรมีความคิดความเป็นเด็กที่ร่าเริงก็จะมีผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก เด็กจะเกิดความไม่สมดุลของร่างกายและอารมณ์
สืบเนื่องมาจากนโยบายที่เร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม และ การจ้างแรงงานไร้ฝีมือ นำไปซึ่งวัฏจักรของความยากจนป็นผลมาจากแรงงานในระดับหัวหน้าครอบครัวทั้งชายและหญิงมีการศึกษาต่ำ ได้รับค่าจ้างในระดับต่ำ ส่งผลให้โอกาสทางการศึกษาของเด็กในครอบครัวน้อยลงตามไปด้วย และมีแนวโน้มที่เด็กเหล่านี้จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในรูปของแรงงานเด็ก นอกจากนี้การขาดแคลนแรงงานอาจกดดันให้มีการจ้างแรงงานเด็กแทนแรงงานต่างชาติที่รัฐบาลต้องการให้ลดจำนวน ทำให้แรงงานที่เติบโตมาจากแรงงานเด็ก มักจะตกอยู่ในสภาพของคนด้อยโอกาสต่อไปตลอดชีวิต เนื่องจากแรงงานเด็กจะได้รับค่าจ้างต่ำ ขาดโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำให้ไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของตนได้ในระยะยาว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวลดลง การพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้า เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและประชาชนมีระดับการศึกษาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากมีประชากรที่มีรายได้น้อยเป็นจำนวนมาก และเกิดช่องว่างมากระหว่างผู้ด้อยโอกาสและประชาชนส่วนอื่นในสังคม
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้แรงงานเด็ก
พิจารณาจากภาพรวม
ความยากจน กระบวนการพัฒนาประเทศส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างสถานะทางเศรษฐกิจของประชากรในประเทศมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน โดยความยากจนของครอบครัวนี้เอง แม้รัฐจะจัดการศึกษาภาคบังคับให้เปล่า ทำให้มีเด็กบางส่วนที่ไม่อาจได้รับประโยชน์ดังกล่าวได้ จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พบว่าในปี 2531 ยังมีเด็กกลุ่มอายุ 4-11 ปีอยู่นอกระบบโรงเรียนถึง 549,502 คน หรือ 7.27% ของกลุ่มอายุ และเด็กอายุ 12-14 ปี อยู่นอกระบบโรงเรียนถึง 2,477,917 คน 66.99% ของกลุ่มอายุ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกผลักดันให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ในลักษณะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ เมื่อรวมทั้งเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสจะเรียนต่อ ไม่มีทางจะทำมาหากินในหมู่บ้านของตนเอง ก็จะเป็นจำนวนมหาศาล
นอกจานี้ด้านสภาพการณ์อันเป็นข้อจำกัดต่างๆ กฎหมายแรงงานของไทยเราจึงยอมให้เด็กอายุ 13 ปี ( เดิม 12 ปี ) แต่ยังไม่ถึง 15 ปี ทำงานบางประเภทได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ประกอบกับกลไกการควบคุมดูแลของทางราชการ ยังกระทำไม่ได้อย่างเข้มงวดและทั่วถึง อีกทั้งสังคมโดยทั่วไปก็ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อเด็ก และผลเสียโดยส่วนรวมของคุณภาพประชากรของประเทศ การใช้แรงงานเด็กจึงเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจป้องกันและแก้ไขให้ได้ผลเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ กำหนดไว้แล้วมากมาย
พิจารณาจากครอบครัวและตัวเด็ก
- การเร่งรัดการผลิตเพื่อจำหน่าย ทำให้ครอบครัวเกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มขึ้นในการใช้เทคโนโลยีตามคำแนะนำของทางราชการ และเมื่อประสบกับภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความแห้งแล้ง ที่เกษตรกรต้องเสี่ยงภัยเองทั้งสิ้น ทำให้ครอบครัวและเกษตรกรหมดตัว เป็นหนี้สิ้น บางครอบครัวไม่มีข้าวกินเพียงพอตลอดปี เด็ก ๆ ก็ต้องมีบทบาทช่วยตนเองและช่วยครอบครัวด้วยในที่สุดด้วยการเดินทางจากบ้านไปหางานทำ
- นอกจากปัจจัยความยากจนที่เป็น ปัจจัยผลักดัน แล้ว ยังมีปัจจัยดึง ที่จะมองข้ามความสำคัญไปไม่ได้ คือ การอยากมาเที่ยวหรือแสวงหาประสบการณ์ อยากมีเงินใช้ส่วนตัวตามอิทธิพลของ บริโภคนิยม ที่ผ่านทางสื่อมวลชนหรือทางพี่น้อง เพื่อนฝูงที่เคยไปเผชิญโชคมาแล้ว
พิจารณาจากด้านนายจ้าง
- เด็กปกครองง่าย ใช้และสอนง่ายกว่าผู้ใหญ่ ไม่รู้และเรียกร้องสิทธิ
- ค่าจ้างถูกกว่าผู้ใหญ่ ( ทั้ง ที่ต้องจ่ายเท่ากันตามกฎหมาย แม้แรงงานผู้ใหญ่เองก็ไม่ค่อยจะได้รับตามอัตราที่กฎหมายกำหนด)
- ลักษณะงานบางอย่างเหมาะกับเด็ก เช่น งานง่าย ๆ แต่ทำว้ำวาก
- เด็กติดตามพ่อแม่ซึ่งมาทำงานและไม่มีอะไรจะทำ
พิจารณาจากกระบวนการผลิตและบริการ
- การขยายภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดกระบวนการผลิตอันหลากหลาย ที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงเป็นตอนแล้วทำการจ้างเหมาช่วยงานกันต่อๆ ไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกบางอย่าง เช่น กิจการตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง ดอกไม้ประดิษฐ์ เจียระไนพลอย ฯลฯ และกิจการเหล่านี้มีงานจุกจิกบางอย่าง เช่น การบรรจุห่อของ ตัดขี้ด้าย ติดกระดุม ทากาว พับผ้า ตัดหนัง พันก้านดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งเด็ก ๆ ทำได้เพราะไม่ต้องการทักษะฝีมืออะไรมากมายนัก
- หน่วยงานผลิตและบริการจำนวนมากยังมีขนาดเล็ก ต้องการลดต้นทุนเป็นหัวใจ จึงนิยมการใช้แรงงานเด็กซึ่งราคาถูก สามารถใช้งานอื่น เช่น งานบ้านผสมผสานไปด้วยได้ ลักษณะการจ้างทำนองนี้จะมีกระจายอยู่ทั่วไป
- แม้แต่งานเกษตรกรรมก็มีเยาวชนรับจ้างมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งมีเด็กรวมอยู่ด้วย เช่น ในงานประมง สวนยาง การทำไร่อ้อย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชไร่ ฯลฯ
พิจารณาจากกระบวนการจัดหางาน
- สำนักจัดหางาน เมื่อมีความต้องการจากตลาดแรงงานเด็กมากขึ้น สำนักจัดหางานเหล่านี้จะมีรายได้สูงขึ้น
- ในทางปฏิบัติ จะมีนายหน้าซึ่งมักจะเป็นคนในพื้นที่เอง นำเด็กมาส่งให้โดยรับค่าบริการจากสำนักจัดหางานในอัตราที่จะตกลงกัน
- ปัจจุบันนี้จะมีนายหน้าซึ่งเคยเป็นคนทำงานในกรุงเทพฯ แล้วหรือเป็นแรงงานเด็กเองได้มีบทบาทเป็นนายหน้า ไปนำเด็กมาป้อนโรงงานที่ตนรู้จักหรือเคยทำงานด้วยโดยตรง เป็นการตัดสำนักจัดหางานออกไป หรือแม้แต่พ่อแม่หรือญาติของเด็ก ก็อาจทำหน้าที่เป็นนายหน้าเสียเองก็มี
- ปรากฏการณ์ล่าสุดที่ต้องติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด คือ การติดโปสเตอร์หาคนงานเสมือนหนึ่งเป็นโรงงานจัดหางานเอง แต่เมื่อติดต่อไปตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ได้ ก็พบว่าเป็นสำนักจัดหางานมิใช่โรงงานโดยตรง และมักจะนัดหมายให้ไปพบ ณ สถานที่บางแห่ง ซึ่งมิใช่สำนักจัดหางานหรือโรงงาน ในบางกรณีก็มีการเรียกร้องค่าบริการสูงโดยอ้างว่างานที่จัดหาให้มีรายได้ดีมีความมั่นคง ฯลฯ ปรากฏการณ์นี้มีร่องรอยของความไม่ชอบมาพากลบอยู่มาก เป็นที่น่าวิตกกว่าอาจเกิดภัยแก่เด็กที่ไม่รู้เท่าทันได้ และจะติดตามกรณีได้ยาก
สถานการณ์แรงงานเด็กของประเทศไทย
1. การกระจายของแรงงานเด็ก
ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ณ เดือนธันวาคม 2541 แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบัน แรงงานเด็กที่ทำงานในสถาน ประกอบการ อายุตั้งแต่ 15 - 17 ปี มีประมาณ 1.25 แสนคน ส่วนใหญ่ทำงานกระจุกตัวอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า เย็บกระเป๋า รองเท้า เจียระไนพลอย ทำเครื่องประดับ ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และร้านอาหาร จากการตรวจ แรงงานเด็กของเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า แรงงานเด็กที่ทำงานในสถานประกอบการ ร้อยละ 85 จะมีอายุระหว่าง 15 - 17 ปี สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ไม่พบว่า มีการใช้ แรงงานเด็ก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยีการผลิตจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีวุฒิภาวะ และสรีระทางร่างกายที่แตกต่างจากเด็ก
2. การใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย สถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการใช้แรงงานเด็ก โดยพบว่า แรงงานเด็กในสถานประกอบ การภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่คาดว่ามีแรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรมและบริการเพิ่มขึ้น และกระจายตัวสู่ชนบทมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการ ใช้แรงงานเด็กในประเทศไทยที่สำคัญคือ
แรงกดดันจากประชาคมโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม มีผลกระทบต่อทั้ง ด้านการค้าระหว่างประเทศและภาพลักษณ์ของประเทศ
ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผู้ประกอบการพยายามลดต้นทุน โดยการจ้าง งานแบบเหมาช่วงและให้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งอาจทำ ให้มีการใช้แรงงานเด็กมากขึ้น ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการและกฎหมายในการคุ้มครองอย่างเหมาะสม นอกจากนี้การ ที่เศรษฐกิจ ถดถอยยังมีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัว ทำให้เด็กต้องออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
มีการใช้แรงงานเด็กต่างชาติชาว พม่า เขมร และลาว ซึ่งเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบ การขนาดเล็ก และงานรับใช้ตามบ้าน เด็กหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกชักนำเข้าสู่งานบริการทางเพศ
สังคมส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาแรงงานเด็กมากขึ้น การร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน ตลอดจนนายจ้างและลูกจ้างมีมากขึ้น
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก
ปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาที่สังคมที่มีผลกระทบมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล การป้องกัน และ แก้ไขจึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจรตั้งแต่การรณรงค์มิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร การสร้าง โอกาสและทาง เลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพแก่แรงงานเด็ก การป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง จนถึงการคุ้มครอง มิให้มี การใช้ แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรม อันเป็นการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนา และเน้นการประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา
จากความหมายของแรงงานเด็ก จะเห็นว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยสภาพของเด็กแล้วอยู่ในสภาวะการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย ความคิดความรู้ หากเมื่อเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดอาหารที่เพียงพอต่อโภชนาการ ขาดสภาพแวดล้อมที่ดีนั้น เด็กก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบของการทำงานในการใช้แรงงานแทนที่การหาความรู้ การหาความสนุกสนานตามวัยเด็กๆนั้น กระบวนการใช้ความคิดหรือวิธีการดำเนินชีวิตก็เปลี่ยนไป จากที่เด็กควรนอนหลับอย่างเพียงพอก็ต้องออกไปทำงานอดหลับอดนอน เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน เพื่อเปลี่ยนแปลงจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจเด็ก เมื่อยังไม่ถึงวัยในการใช้แรงงานย่อมจะมีภาวะกำลังที่อ่อน การทำงานซึ่งอาจจะขัดแย้งต่อการบังคับกำลังของนายจ้างทำให้เกิดการทำร้ายทารุณร่างกายเพื่อให้เกิดความพอใจในผลผลิตที่ได้ เด็กเมื่อเกิดความตึงเครียดทุกวันแตกต่างจากเด็กอื่นๆที่ควรมีความคิดความเป็นเด็กที่ร่าเริงก็จะมีผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก เด็กจะเกิดความไม่สมดุลของร่างกายและอารมณ์
สืบเนื่องมาจากนโยบายที่เร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม และ การจ้างแรงงานไร้ฝีมือ นำไปซึ่งวัฏจักรของความยากจนป็นผลมาจากแรงงานในระดับหัวหน้าครอบครัวทั้งชายและหญิงมีการศึกษาต่ำ ได้รับค่าจ้างในระดับต่ำ ส่งผลให้โอกาสทางการศึกษาของเด็กในครอบครัวน้อยลงตามไปด้วย และมีแนวโน้มที่เด็กเหล่านี้จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในรูปของแรงงานเด็ก นอกจากนี้การขาดแคลนแรงงานอาจกดดันให้มีการจ้างแรงงานเด็กแทนแรงงานต่างชาติที่รัฐบาลต้องการให้ลดจำนวน ทำให้แรงงานที่เติบโตมาจากแรงงานเด็ก มักจะตกอยู่ในสภาพของคนด้อยโอกาสต่อไปตลอดชีวิต เนื่องจากแรงงานเด็กจะได้รับค่าจ้างต่ำ ขาดโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำให้ไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของตนได้ในระยะยาว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวลดลง การพัฒนาประเทศเป็นไปได้ช้า เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและประชาชนมีระดับการศึกษาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากมีประชากรที่มีรายได้น้อยเป็นจำนวนมาก และเกิดช่องว่างมากระหว่างผู้ด้อยโอกาสและประชาชนส่วนอื่นในสังคม
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้แรงงานเด็ก
พิจารณาจากภาพรวม
ความยากจน กระบวนการพัฒนาประเทศส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างสถานะทางเศรษฐกิจของประชากรในประเทศมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน โดยความยากจนของครอบครัวนี้เอง แม้รัฐจะจัดการศึกษาภาคบังคับให้เปล่า ทำให้มีเด็กบางส่วนที่ไม่อาจได้รับประโยชน์ดังกล่าวได้ จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พบว่าในปี 2531 ยังมีเด็กกลุ่มอายุ 4-11 ปีอยู่นอกระบบโรงเรียนถึง 549,502 คน หรือ 7.27% ของกลุ่มอายุ และเด็กอายุ 12-14 ปี อยู่นอกระบบโรงเรียนถึง 2,477,917 คน 66.99% ของกลุ่มอายุ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกผลักดันให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ในลักษณะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ เมื่อรวมทั้งเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสจะเรียนต่อ ไม่มีทางจะทำมาหากินในหมู่บ้านของตนเอง ก็จะเป็นจำนวนมหาศาล
นอกจานี้ด้านสภาพการณ์อันเป็นข้อจำกัดต่างๆ กฎหมายแรงงานของไทยเราจึงยอมให้เด็กอายุ 13 ปี ( เดิม 12 ปี ) แต่ยังไม่ถึง 15 ปี ทำงานบางประเภทได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ประกอบกับกลไกการควบคุมดูแลของทางราชการ ยังกระทำไม่ได้อย่างเข้มงวดและทั่วถึง อีกทั้งสังคมโดยทั่วไปก็ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อเด็ก และผลเสียโดยส่วนรวมของคุณภาพประชากรของประเทศ การใช้แรงงานเด็กจึงเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจป้องกันและแก้ไขให้ได้ผลเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ กำหนดไว้แล้วมากมาย
พิจารณาจากครอบครัวและตัวเด็ก
- การเร่งรัดการผลิตเพื่อจำหน่าย ทำให้ครอบครัวเกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มขึ้นในการใช้เทคโนโลยีตามคำแนะนำของทางราชการ และเมื่อประสบกับภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความแห้งแล้ง ที่เกษตรกรต้องเสี่ยงภัยเองทั้งสิ้น ทำให้ครอบครัวและเกษตรกรหมดตัว เป็นหนี้สิ้น บางครอบครัวไม่มีข้าวกินเพียงพอตลอดปี เด็ก ๆ ก็ต้องมีบทบาทช่วยตนเองและช่วยครอบครัวด้วยในที่สุดด้วยการเดินทางจากบ้านไปหางานทำ
- นอกจากปัจจัยความยากจนที่เป็น ปัจจัยผลักดัน แล้ว ยังมีปัจจัยดึง ที่จะมองข้ามความสำคัญไปไม่ได้ คือ การอยากมาเที่ยวหรือแสวงหาประสบการณ์ อยากมีเงินใช้ส่วนตัวตามอิทธิพลของ บริโภคนิยม ที่ผ่านทางสื่อมวลชนหรือทางพี่น้อง เพื่อนฝูงที่เคยไปเผชิญโชคมาแล้ว
พิจารณาจากด้านนายจ้าง
- เด็กปกครองง่าย ใช้และสอนง่ายกว่าผู้ใหญ่ ไม่รู้และเรียกร้องสิทธิ
- ค่าจ้างถูกกว่าผู้ใหญ่ ( ทั้ง ที่ต้องจ่ายเท่ากันตามกฎหมาย แม้แรงงานผู้ใหญ่เองก็ไม่ค่อยจะได้รับตามอัตราที่กฎหมายกำหนด)
- ลักษณะงานบางอย่างเหมาะกับเด็ก เช่น งานง่าย ๆ แต่ทำว้ำวาก
- เด็กติดตามพ่อแม่ซึ่งมาทำงานและไม่มีอะไรจะทำ
พิจารณาจากกระบวนการผลิตและบริการ
- การขยายภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดกระบวนการผลิตอันหลากหลาย ที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงเป็นตอนแล้วทำการจ้างเหมาช่วยงานกันต่อๆ ไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกบางอย่าง เช่น กิจการตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง ดอกไม้ประดิษฐ์ เจียระไนพลอย ฯลฯ และกิจการเหล่านี้มีงานจุกจิกบางอย่าง เช่น การบรรจุห่อของ ตัดขี้ด้าย ติดกระดุม ทากาว พับผ้า ตัดหนัง พันก้านดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งเด็ก ๆ ทำได้เพราะไม่ต้องการทักษะฝีมืออะไรมากมายนัก
- หน่วยงานผลิตและบริการจำนวนมากยังมีขนาดเล็ก ต้องการลดต้นทุนเป็นหัวใจ จึงนิยมการใช้แรงงานเด็กซึ่งราคาถูก สามารถใช้งานอื่น เช่น งานบ้านผสมผสานไปด้วยได้ ลักษณะการจ้างทำนองนี้จะมีกระจายอยู่ทั่วไป
- แม้แต่งานเกษตรกรรมก็มีเยาวชนรับจ้างมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งมีเด็กรวมอยู่ด้วย เช่น ในงานประมง สวนยาง การทำไร่อ้อย เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชไร่ ฯลฯ
พิจารณาจากกระบวนการจัดหางาน
- สำนักจัดหางาน เมื่อมีความต้องการจากตลาดแรงงานเด็กมากขึ้น สำนักจัดหางานเหล่านี้จะมีรายได้สูงขึ้น
- ในทางปฏิบัติ จะมีนายหน้าซึ่งมักจะเป็นคนในพื้นที่เอง นำเด็กมาส่งให้โดยรับค่าบริการจากสำนักจัดหางานในอัตราที่จะตกลงกัน
- ปัจจุบันนี้จะมีนายหน้าซึ่งเคยเป็นคนทำงานในกรุงเทพฯ แล้วหรือเป็นแรงงานเด็กเองได้มีบทบาทเป็นนายหน้า ไปนำเด็กมาป้อนโรงงานที่ตนรู้จักหรือเคยทำงานด้วยโดยตรง เป็นการตัดสำนักจัดหางานออกไป หรือแม้แต่พ่อแม่หรือญาติของเด็ก ก็อาจทำหน้าที่เป็นนายหน้าเสียเองก็มี
- ปรากฏการณ์ล่าสุดที่ต้องติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด คือ การติดโปสเตอร์หาคนงานเสมือนหนึ่งเป็นโรงงานจัดหางานเอง แต่เมื่อติดต่อไปตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ได้ ก็พบว่าเป็นสำนักจัดหางานมิใช่โรงงานโดยตรง และมักจะนัดหมายให้ไปพบ ณ สถานที่บางแห่ง ซึ่งมิใช่สำนักจัดหางานหรือโรงงาน ในบางกรณีก็มีการเรียกร้องค่าบริการสูงโดยอ้างว่างานที่จัดหาให้มีรายได้ดีมีความมั่นคง ฯลฯ ปรากฏการณ์นี้มีร่องรอยของความไม่ชอบมาพากลบอยู่มาก เป็นที่น่าวิตกกว่าอาจเกิดภัยแก่เด็กที่ไม่รู้เท่าทันได้ และจะติดตามกรณีได้ยาก
สถานการณ์แรงงานเด็กของประเทศไทย
1. การกระจายของแรงงานเด็ก
ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ณ เดือนธันวาคม 2541 แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบัน แรงงานเด็กที่ทำงานในสถาน ประกอบการ อายุตั้งแต่ 15 - 17 ปี มีประมาณ 1.25 แสนคน ส่วนใหญ่ทำงานกระจุกตัวอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า เย็บกระเป๋า รองเท้า เจียระไนพลอย ทำเครื่องประดับ ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และร้านอาหาร จากการตรวจ แรงงานเด็กของเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า แรงงานเด็กที่ทำงานในสถานประกอบการ ร้อยละ 85 จะมีอายุระหว่าง 15 - 17 ปี สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ไม่พบว่า มีการใช้ แรงงานเด็ก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยีการผลิตจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีวุฒิภาวะ และสรีระทางร่างกายที่แตกต่างจากเด็ก
2. การใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย สถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการใช้แรงงานเด็ก โดยพบว่า แรงงานเด็กในสถานประกอบ การภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่คาดว่ามีแรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรมและบริการเพิ่มขึ้น และกระจายตัวสู่ชนบทมากขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการ ใช้แรงงานเด็กในประเทศไทยที่สำคัญคือ
แรงกดดันจากประชาคมโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม มีผลกระทบต่อทั้ง ด้านการค้าระหว่างประเทศและภาพลักษณ์ของประเทศ
ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผู้ประกอบการพยายามลดต้นทุน โดยการจ้าง งานแบบเหมาช่วงและให้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งอาจทำ ให้มีการใช้แรงงานเด็กมากขึ้น ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการและกฎหมายในการคุ้มครองอย่างเหมาะสม นอกจากนี้การ ที่เศรษฐกิจ ถดถอยยังมีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัว ทำให้เด็กต้องออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
มีการใช้แรงงานเด็กต่างชาติชาว พม่า เขมร และลาว ซึ่งเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบ การขนาดเล็ก และงานรับใช้ตามบ้าน เด็กหญิงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกชักนำเข้าสู่งานบริการทางเพศ
สังคมส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาแรงงานเด็กมากขึ้น การร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน ตลอดจนนายจ้างและลูกจ้างมีมากขึ้น
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก
ปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาที่สังคมที่มีผลกระทบมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุล การป้องกัน และ แก้ไขจึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจรตั้งแต่การรณรงค์มิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร การสร้าง โอกาสและทาง เลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพแก่แรงงานเด็ก การป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง จนถึงการคุ้มครอง มิให้มี การใช้ แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรม อันเป็นการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนา และเน้นการประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา
7 ความคิดเห็น:
ถ้าทำให้แรงงานเด็กหมดไปจากเมืองไทยได้ก็จะดีมากค่ะ เด็กควรได้รับการศึกษามากกว่าต้องมาทำงาน ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้มีการส่งเสริมด้านการศึกษาฟรีในระดับจนถึง ปริญญาตรี
มีแรงงานผู้ใหญ่ที่ตกงานอีกมากมายที่ต้องว่างงาน ถ้าต้องการให้ประเทศไทยพัฒนา( แบบจริงจัง) ควรที่จะส่งเสริมให้ทรัพยากร พัฒนาในด้านบุคลากรให้มากขึ้นด้วย ระบบของนายทุนควรเตรียมรับกับแรงงานฝีมือ ไม่ใช่ผลิตแต่แรงงานด้อยฝีมือเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
จาก : มุก - - Khaimook_c@hotmail.com
"ความจริงของชีวิตเล็กๆ กับชะตากรรมที่ถูกกำหนดด้วยผู้ใหญ่บางกลุ่ม"
จากอดีตจนปัจจุบัน ปัญหาเรื่องแรงงานเด็กไม่เคยได้รับการแก้ไข
ผมว่า "การศึกษา" คือทางออกของปัญหานี้ครับ
ขอบคุณมากที่เผยแพร่ความรู้ดีๆอย่างนี้ครับ
คิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามอย่างมาก เพราะว่าเด็กถือได้ว่าสามารถเติบโตมาเป็นทรัยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของชาติไทยได้อย่างมาก แต่เนื่องด้วยปัจจุบันรัฐบาลเน้นการพัฒนาที่ผิดรูปแบบมุ่งเน้นแต่การเติบโตของGDPเน้นการพัฒนาด้านเศณษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว จนลืมหันกลับมามองปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถส่งผลระยะยาวและกระทบต่อการพัฒนาของชาติเป็นอย่างยิ่ง
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า รัฐบาลผู้ซึ่งมีอำนาจอย่างมั่วแต่ทะเลาะกันอยู่เลยค่ะ อย่างเพียงแค่ว่าทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือพัฒนาเรื่องไม่เป็นเรื่อง หันกลับมามองปัญหาสังคมที่เกิดตามท้องถนนบ้างค่ะ เด็กบางรายถูกบังคับให้ขายพวงมะลัย เช็ดกระจก ที่ควรพัฒนาให้"การศึกษา" ให้พวกเขาสามารถเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไปด้วยค่ะ^^
เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ็กนั้นถือว่าเป็นปัญหาที่มีความอันตรายสำหรับประเทศมากอีกด้วยเพราะมันได้สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตของชาติจะเป็นเช่นไร ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการให้การศึกษาแก่เด็ก ช่วยเหลือผู้ปกครองให้มีรายได้อย่างพอเพียง(มิใช่เอาเงินไปให้แต่เป็นการด้วยปัญญา)จะได้มีเงินส่งลูกตัวเองให้ได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย
จริงๆ แรงงานเด็กอาจไม่ได้นับอยู่แค่ภาคอุตสาหกรรมแต่อย่างเดียว เพราะเด็กกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่เรามองเห็นปัญหาชัดเจนอยู่แล้ว
เราสนใจเรื่อง นักมวยเด็ก อยู่ เพราะนี่อาจเป็นปัญหาที่คนไม่เห็นว่าเป็นปัญหา คือการเอาเด็กมาเล่นกีฬารุนแรง แล้วเป็นเครื่องมือสำหรับการพนันขันต่ออย่างสนุกสนานของผู้ใหญ่หรือแม้แต่พ่อแม่ของเด็กเอง
แน่นอนว่า เด็กเหล่านี้ไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ และอาจถูกทำร้ายร่างกายไม่เพียงแต่บนเวที แต่เราไม่อาจทราบได้เลยว่า เทรนเนอร์หรือแม้แต่พ่อแม่เด็ก ดูแลเด็กอย่างไร ในสภาวะเช่นนั้น
ตามลิงค์บล๊อกมาจากเวปพันทิป
รู้สึกดีใจแทนเด็กไทยหลายๆคน ที่คนในสังคมยังไม่ทดทิ้งพวกเขา และเห็นถึงปัญหาจุดนี้
อยากให้เคนไทยเลิกทะเลาะกัน แล้วมาช่วยกันดูแลเยาวชนของชาติดีกว่าค่ะ
แสดงความคิดเห็น