ขอเชิญผู้สนใจชมคลิปวีดีโอการโต้วาทีย้อนหลังในประเด็นปัญหาการพัฒนา ได้ที่ blog วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา (Politics of development) และเสนอความคิดเห็น ข้อแนะนำและข้อติชมได้ค่ะ โดยมีรายละเอียดของญัตติและประเด็นการโต้วาที ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
นิสิต คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง ชั้นปีที่ 3
ได้โต้วาทีในประเด็นปัญหาการพัฒนา ภายใต้ญัตติต่อไปนี้
ญัตติที่ 1
ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นทางรอดของการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์
ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นทางรอดของการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์
ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยได้มาถึงจุดที่ตลาดในโลกนี้เชื่อมต่อกันหมดโดยไม่มีอุปสรรคที่เป็นเงื่อนไขของแต่ละประเทศ ตั้งแต่การลงทุน การเงิน การคา และการบริการ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าของโลกไม่บรรลุผล ประเทศไทยดำเนินการในเรื่องการค้าบนตรรกะของการไม่ต้องตกขบวนรถไฟ ปัจจุบันประเทศไทยได้เซ็นสัญญาข้อตกลงการค้าเสรีไปแล้วหลายประเทศ ทั้งประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจเหนือกว่า และที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันโดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การลดภาษีอากร และเงื่อนไขอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การช่วยเหลือจากภาครัฐ ข้อถกเถียงที่สำคัญสำหรับการค้าเสรีกับบางประเทศคือการนำเรื่องการค้าไปเกี่ยกวับประเด็นการพัฒนาอื่นๆ เช่น สิทธิบัตร มาตรฐานสินค้า มาตรฐานแรงงาน เป็นต้น รวมไปถึงประเด็นการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากความแตกต่างกันในระดับของการพัฒนาและเทคโนโลยี นอกจากการต่อรองระหว่างประเทศแล้ว ข้อตกลงเขตการค้าเสรียังขึ้นอยู่กับการต่อรองระหว่างตัวแสดงในภาคส่วนต่างๆภายในประเทศ เนื่องจากจะมีคนได้และเสียจากข้อตกลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ และความสามารถในการเข้าถึงการตัดสินใจของผุ้กำหนดนโยบาย การจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศยังขึ้นกับศักยภาพของการเจรจา ข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการนิยามผลประโยชน์ของชาติและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย
ฝ่ายเสนอ
1. นายกัญจน์ฐิติ วัฒนาบริรักษ์
2. นางสาวปิยภรณ์ ชอบทำกิจ
3. นางสาวธฤตตนัน บัณฑิตย์
4. นางสาวภรณ์ธิดา จงพิพิธพร
ฝ่ายค้าน
1. นางสาวพิญาวดี สุวิยานนท์
2. นางสาววรัญญา ผู้พิทักษ์ผล
2. นางสาววรัญญา ผู้พิทักษ์ผล
3. นายรชฏ ปราการพิลาส
4. นายชญานิน เตียงพิทยากร
ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีได้ที่นี่
https://rcpt.yousendit.com/614219423/6ae479359070471e2d7c627a2cb14760
ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีได้ที่นี่
https://rcpt.yousendit.com/614219423/6ae479359070471e2d7c627a2cb14760
ญัตติที่ 2
เขื่อนสาละวินทางเลือกความมั่นคงทางพลังงานของชาติ
ดูเหมือนว่าในโลกปัจจุบัน พลังงานจากน้ำจะกลายเป็นทางเลือกของความมั่นคงทางพลังงานของหลายประเทศไปแล้ว ภายใต้สถานการณ์ของการเก็งราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่เคยถูกต่อต้านอย่างรุนแรงทั่วโลกกำลังจะกลับมาใหม่ โดยมีเหตุผลที่หนักแน่นกว่าเดิม คือการลดภาวะโลกร้อน การโต้เถียงเรื่องการสร้างเขื่อนในประเด็นของการชั่งน้ำหนักระหว่างผลได้ผลเสีย ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและการดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อเขื่อนนั้นถูกสร้างบนแม่น้ำนานาชาติ เช่นเขื่อนบนแม่น้ำโขงในประเทศจีน และในประเทศลาว พม่า ซึ่งล้วนแต่มีระบบการเมืองปิดและเป็นเผด็จการ การส้รางเขื่อนที่ขยายขอบเขตออกไปนอกประเทศอาจเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ขณะเดียวกันอาจเป็นการผลักต้นทุนของการสร้างเขื่อนไปให้ประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันน้อยกว่า มีการพึ่งพาเงินตราต่างประเทศ มีเงื่อนไขของการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ดี เขื่อนในยุคใหม่จึงเป็นทางเลือกที่ยากแก่การตัดสินใจ
ฝ่ายเสนอ
1. นางสาวปัญจรัตน์ ทองมีเพชร
2. นางสาวสิริอาภา ทองโชติ
ฝ่ายค้าน
1. นายธนพัฒน์ จันทร์ดิษฐวงศ์
2.นายพันธ์พงศ์ อัศวชัยโสภณ
3. นายภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์
ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ เขื่อนสาละวินได้ที่นี่
http://rcpt.yousendit.com/614218527/69cb0dddfd6ffdf456044d58e2e0eeb1
2.นายพันธ์พงศ์ อัศวชัยโสภณ
3. นายภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์
ดาวน์โหลดไฟล์การโต้วาทีในญัตติ เขื่อนสาละวินได้ที่นี่
http://rcpt.yousendit.com/614218527/69cb0dddfd6ffdf456044d58e2e0eeb1
2 ความคิดเห็น:
น่าสนใจมากเลยค่ะ เพราะปัญหาFTAเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมานานแล้วว่าใครได้หรือเสียประโยชน์ แล้วจะคอยติดตามดูการโต้วาทีนะคะ อยากให้ไปเผยแพร่ที่เวบพันทิปดู เพราะเชื่อว่าคงมีอีกหลายท่านที่สนใจ
ชอบความคิดฝ่ายค้านเรื่องเขื่อนสาละวินคะ
แสดงความคิดเห็น