10.10.2551

อัมพวา พาเพลิน สำเริง สำราญ





เชื่อแน่ว่าหากกล่าวถึงอำเภออัมพวาแล้วคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จัก เพราะชื่อเสียงอันโด่งดังของตลาดน้ำอัมพวา แต่การมาลงพื้นที่ภาคสนามในครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความรู้จัก กับอำเภออัมพวาให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาที่พบ รวมไปถึงโครงการต่างๆที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาต่างๆ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราได้รับโอกาสในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะทำให้เราแต่ละคนสามรถเก็บเกี่ยวประสบการณ์หรือได้แง่คิด มุมมองใหม่ๆไม่มากก็น้อย

ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความรู้จักกับจังหวัดสมุทรสงครามที่เป็นที่ตั้งของอำเภออัมพวากันก่อน จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดในภาคกลาง มีพื้นที่ขนาดเล็กที่สุดของประเทศ จำนวนประชากรน้อยเป็นอันดับสองเลยของประเทศเลยทีเดียว มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวไทยและจังหวัดอื่นใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็น ราชบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านและมีลำคลองมากมาย ทำให้เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมทะเล ดินเป็นลักษณะของดินเหนียวปนทราย

การปกครองในระดับส่วนภูมิภาคนั้นก็ประกอบไปด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา และ 33 ตำบล ประชากรในจังหวัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง ในส่วนของอุตสาหรรมขนาดเล็กก็มี เช่น อุตสาหกรรมอาหาร และ อุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ และที่มารายได้ที่สำคัญอีกประการก็ คือ การท่องเที่ยว ส่วนสำคัญและขาดไม่ได้เลยจะต้องจดจำกันให้ได้ ก็คือคำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสงคราม นั่นคือ เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยานร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลม

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสงครามนั้นก็มีความหลากหลายและกิจกรรมมากมายให้ทำกันสำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากคงหนีไม่พ้นดอนหอยหลอดที่มีหอยหลอดชุกชุมมาก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมากมายต่างพากันมาจับหอยหลอด มีทั้งเทคนิควิธี และยังได้รับประทานเมนูต่างๆที่มีหอยหลอดเป็นส่วนผสมอีกด้วย หรือ ถ้าใครชอบไหว้พระ ที่นี่ก็มีวัดชื่อดังอีกด้วย นั่นก็คือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ที่ภายในมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อบ้านแหลม หรือจะไปกันที่วัดศรัทธาธรรมที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน อีกทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใตชาวมอญ อีกด้วย

หลังจากที่เราได้รู้จักกับจังหวัดสมุทรสงครามมากันพอสมควรแล้ว เราก็จะมาทำความรู้จักกับอำเภออัมพวาที่เราจะลงพื้นที่กันในครั้งนี้ อำเภออัมพวานั้นประกอบด้วย 12 ตำบลและ96 หมู่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง แน่นอนว่าหากพูดถึงอำเภออัมพวา คงไม่มีใครไม่นึกถึง ตลาดน้ำอัมพวา หรือตลาดน้ำยามเย็น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจากเดิมที่การคมนาคมทางบกได้เข้ามาและลดความสำคัญการคมนาคมทางน้ำไปนั้น ตลาดน้ำอัมพวาได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยความหมายมั่นปั้นมือของประชาชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ และชาวบ้านก็พายเรือนำสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนเก็บความประทับไม่รู้กี่ครั้งจากการได้สัมผัสกับธรรมชาติของวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ และการท่องเที่ยวในรูปแบบของโฮมสเตย์ที่หลีกหนีจากชีวิตความวุ่นวายในเมืองมาอยู่ท่ามกลางสวนผลไม้ วิถีชีวิตริมน้ำ สัมผัสบรรยากาศชนบทอย่างแท้จริง ตลาดน้ำอีกแห่งหนึ่งที่รักษาวิถีชีวิตชุมชนได้อย่างแนบแน่นก็คงเป็น ตลาดน้ำท่าคา แทบไม่น่าเชื่อว่านอกจากการซื้อขายสินค้ากันนั้น เรายังสามารถพบการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ที่นี่อีกด้วย แต่ตลาดน้ำนี้จะมีในช่วงเช้า ท่ามกลางบรรยากาศเรือกสวนไร่นาต่างๆ อัธยาศัยไมตรีของผู้คน ทำให้นักท่องเที่ยวเก็บความประทับใจกลับบ้านได้ไม่แพ้ตลาดน้ำอัมพวาเช่นกัน หากใครชอบไหว้ทำบุญทำทานละก็ อำเภออัมพวานี้ก็มีวัดต่างๆให้เราได้ไปเคารพสักการะกัน ไม่ว่าจะเป็นวัดอัมพวันเจติยาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเสรีรังคารและพระบรมอัฐิของรัชกาลที่2อีกด้วย สถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งและยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกด้วย นั่นก็คือ อุทยานรัชกาลที่2 มีทั้งโรงละคร สวนพันธุ์ไม้วรรณคดี อาคารเก็บเครื่องดนตรีไทย อาคารซ้อมโขน ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ศึกษา สืบทอดและ เผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงาม อีกด้วย

เพื่อนๆครับ ถึงแม้จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวาจะเป็นสวรรค์บนดินสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ก็มีปัญหาที่กำลังคลืบคลานเข้ามา ซึ่งจะขอสรุปปัญหาให้เพื่อนๆ ได้ทราบโดยคร่าวๆ กันนะครับ
ปัญหาของจังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวา
การพัฒนาจังหวัดของทางภาครัฐที่แล้วๆได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และขณะเดียวกัน ประชาชนก็มีส่วนอยู่มิใช่น้อยที่จะช่วยพัฒนา และรักษาสภาพความเป็นอยู่
ของจังหวัดเอาไว้ ทวาภายใต้พรมแดงของการพัฒนานั้น ก็มีปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมแดง และรอวันปะทุขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางจังหวัด และอำเภออัมพวากำลังประสบอยู่ ดังนี้
1)ขยะมูลฝอยที่มีมากเกินขีดความสามารถของการจัดการ
2) การเปิดรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่กำลังนำความร้าวฉานมาสู่ชุมชนใน
จังหวัด และอำเภออัมพวา อันจะนำผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม
มีคำคมอยู่บทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “ปัญหามีให้คนแก้” ก็เห็นจะเป็นจริงนะครับ เพราะ เป็นที่แน่นอนว่าชาวแม่กลองต่างก็จะไม่ยอมให้ปัญหาต่างๆเข้ามาถาโถม จนอาจจะนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังในอนาคต ฉะนั้นทางจังหวัดสมุทรสงครา และอำเภออัมพวาจึงได้ออกแนวทางยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ครอบคลุมต่อปัญหาทั้งหลายในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยจะขอสรุปให้เพื่อนได้รับทราบเป็นแนวทางอย่างคร่าวๆดังนี้ นะครับ

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภออัมพวา
1.วิสัยทัศน์ของจังหวัด
“เป็นเมืองแห่งอาหารทะเล และผลไม้ปลอดสารพิษ ศูนย์กลางการพักผ่อน และการท่อง
เที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางลำคอลองระดับชาติ ดินแดนแห่งประชาชนรักถิ่นกำเนิด
2. เป้าหมายของจังหวัด
จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์อยู่ในตัวเอง เพราะ เป็นเมืองที่มีการเกษตรกรรม และทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยวที่หลากหลาย สามารถบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การที่จะได้ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อนๆก็คงจะได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด และเป็นจุดหมายของการพัฒนาเมืองแม่กลอง เพราะพวกเรากำลังจะได้เห็นนักท่องเที่ยวที่มาอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเป็นการช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชาวแม่กลอง พร้อมๆกันนี้ พวกเราก็จะได้เห็นความตั้งใจชองทางจังหวัดที่พยายามรักษาคุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว เฉกเช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางลำคลอง การอนุรักษ์ความสมดุลของกรท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมของดีของเมืองแม่กลองที่พวกเราควรต้องลิ้มลอง นั่นคือ “อาหารทะเล และสินค้าทางการเกษตร” ให้ได้มาตรฐาน เพื่อพูนรายได้แก่ชาวประมง เกษตรกร และผู้ประกอบการร้านอาหารให้มีรายได้สูงขึ้น นอกจากนี้ เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเมืองแม่กลองที่อีก 75 จังหวัดไม่มี จะมีก็แต่ดินแดนแห่งเมืองหอยหลอดเท่านั้นล่ะครับ ซึ่งก็คือ ภายในตัวจังหวัดไม่มีร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นของทั้งกลุ่มทุนภายใน และนอกประเทศ ประกอบกับชาวแม่กลองเองก็พอใจที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตในจังหวัด เอกลักษณ์ตรงจุดนี้ เป็นอีกเป้าประสงค์หนึ่งของทางจังหวัดฯ ที่มุ่งรักษาเอาไว้ให้คงอยู่ท่ามกลางการพัฒนากระแสหลัก
3.ยุทธศาสตร์ของจังหวัด และอำเภออัมพวา
1) การควบคุม และยกระดับภาคการประมงให้ได้มาตรฐาน และปลอดสารพิษ
2) การควบคุม และยกระดับการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ
3) การปลุกจิตสำนึกให้ชาวสมุทรสงครามรักถิ่นกำเนิด

แค่นี้ยังไม่จบนะครับเพื่อนๆ มาถึงส่วนสุดท้ายของเนื้อหาทั้งหมดที่ผมจะสรุปให้เพื่อนๆได้ทราบ เนื้อ หาส่วนสุดท้าย ก็จะเป็นการแนะนำโครงการหนึ่งในอำเภออัมพวาพอเป็นน้ำจิ้มที่จะช่วยให้เพื่อนๆได้อยากมีส่วนร่วมต่อการลงพื้นที่ครั้งนี้ โครงการดังกล่าว คือ โครงการคือโครงการใด โปรดอดใจอีกสักครู่ครับ
โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชิวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
อำเภออัมพวาที่พวกเราๆกำลังจะได้ลงพื้นที่สำรวจกันนี้นะครับ เป็นอำเภอหนึ่งที่หน่วยงานของภาครัฐต่างที่จะเข้าไปตั้งโครงการในพื้นที เพราะ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย และในที่นี้จะขอแนะนำโครงการหนึ่งที่เป็นโครงการที่ทุ่งอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนอัมพวา และเป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนในอัมพวาต่างมีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง โครงการนี้ก็คือ โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชิวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ความเป็นมา
เมื่อปี 2545 นางสาวประยงค์ นาคะวะรังค์ได้น้อมเกล้าฯถวายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อใช้ในการสาธารณประโยชน์แก่ชุมชน
โครงการนี้เป็นโครงการในพระราชดำริ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนา และอนุรักษ์วิถีชุมชนอัมพวาในด้านสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ โดยอาศัยบ้านพัก และอาณาเขตรอบนอกบ้านพักมาใช้ให้เกิดอรรถประโยชน์อย่างสูงที่สุด นอกจากมูลนิธิชัยพัฒนาจะรับผิดชอบภารกิจต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีกรมวิชา
การเกษตร ร่วมมือกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรภายในท้องถิ่น มารับผิดชอบในการดูแลรักษาสภาพบ้านเรือน สวนผลไม้ รวมทั้งการจัดหาพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร และบุคคลทั่วไป

ความมุ่งหมาย
โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม มุ่งหวังที่จะเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับกิจ
กรรมท้องถิ่น และกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากจากพื้นที่เรือนแถวไม้ริมน้ำ สวนผลไม้ มาใช้เป็นสถานที่บูรณาการความรู้ และสร้างจิตสำนึกร่วมของชาวสมุทรสงคราม

การดำเนินงานในอนาคต
หน่วยงานที่รับผิดชอบมีความคิดที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งทุกประการ ทั้งนี้การดำเนินงานในอนาคต ทางหน่วยงานจะจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แลผู้ทรงคุณวุฒิ มาช่วยดูแลกำกับการดำเนินงาน รวมทั้งว่าจ้างผู้จัดทำโครงการที่มีความเข้าใจในวิถีชีวิตชุมชน และเชี่ยวชาญในการจัดการเชิงธุรกิจ มาบริหารจัดการในพื้นที่แห่งนี้ ในส่วนของสวนผลไม้ และการให้บริการด้านวิชาการเกษตร สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจะร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานในท้องถิ่นระดับต่างๆ และกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่มาร่วมจัดทำกรอบแผนการดำเนินการพัฒนาสวนผลไม้ เพื่อเป้าหมายระยะยาว ซึ่งก็คือ การเป็นแหล่งศึกษาความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง การรักษาระบบนิเวศวิทยาของสวนผลไม้ และการบริการด้านวิชาการเกษตรของอำเภออัมพวา และชุมชนใกล้เคียง

“ สมุทรสงครามยังมีอะไรดีๆอีกมากมายที่กำลังรอพวกเราให้เข้าไปเรียนรู้อยู่นะครับ”







1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

Sports Betting at Safest Betting Sites in Israel - Airjordan10 RetroOutlet
Safest Betting 토토 총판 처벌 넷마블 Sites in Israel air jordan 18 retro red from me · The Best and Best jordan 18 white royal blue sports Betting Sites in the UK · bestest air jordan 18 retro yellow The UK's Hottest Bookmakers · Betfair Sports Betting how to find air jordan 18 retro red Authority · Betfair