บทความนี้ถูกเขียนขึ้นครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษโดยอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกไกล (Southeast Asian Development Advisory Group - SEADAG) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และต่อมาได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยในชื่อ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ซึ่งโดยเนื้อหาแล้ว เป็นการเรียกร้องในสิ่งที่รัฐควรจะจัดสรรบริการหรือสวัสดิการด้านต่างๆให้แก่ประชาชน รวมถึงความช่วยเหลือหรือสวัสดิการที่มนุษย์คนหนึ่งพึงมีเมื่อเขาอยู่ในท้องแม่จนกระทั่งตาย
เริ่มต้นจากสิทธิที่แม่เขาควรจะได้รับการดูแลอย่างดีเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ สิทธิในการเข้ารับการศึกษาเมื่อเขาโตพอ ไม่ว่าผู้เป็นพ่อและแม่จะรวยหรือยากจนก็ตาม เมื่อเขาเรียนจบ เขาก็ควรจะมีสิทธิ์ที่จะได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสังคมที่เขาอยู่ก็จะต้องมีสิทธิเสรีภาพ ไม่มีการข่มขู่หรือประทุษร้ายกัน และหากเขาเป็นกรรมกร เขาก็ควรจะไม่ถูกขูดรีดจากนายทุน และเมื่อใดที่เขาไม่สบาย เขาก็จะต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างดี เมื่อเขาแก่ เขาก็ควรจะได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม และหากเขาจะตาย เขาก็ไม่ควรที่จะตายเพราะเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง หรือเรื่องที่ผู้อื่นเป็นผู้ก่อ เช่น สงครามกลางเมือง อากาศเป็นพิษ และเมื่อเขาตาย มรดกของเขาก็ควรแบ่งให้ลูกที่ยังเล็ก โดยแบ่งให้พอเหมาะพอใช้จนกว่าลูกเขาจะโต ส่วนเงินที่เหลือ รัฐบาลก็ควรจะเก็บไปเพื่อใช้บำรุงชีวิตคนอื่นต่อไป แต่ใช่ว่าเขาจะเรียกร้องความดูแลจากรัฐเพียงอย่างเดียว แต่เขาก็พร้อมที่จะจ่ายภาษีให้แก่รัฐตามอัตภาพด้วยเช่นกัน
โดยเนื้อหาสาระแล้ว การเรียกร้องต่อรัฐของคนๆหนึ่งในบทความนี้ที่ต้องการให้รัฐมาดูแลในด้านต่างๆ เพื่อให้ชีวิตไม่มีความเสี่ยงมากนัก ซึ่งสาระสำคัญสอดคล้องกับประเด็นในเรื่องแนวคิดพัฒนาในรูป “รัฐสวัสดิการ” กล่าวคือ
1. เป็นระบบที่ครอบคลุมครบวงจรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายโดยผ่านระบบสวัสดิการต่างๆ โดยผ่านสวัสดิการที่สำคัญ 4 อย่าง คือ ระบบการศึกษา ระบบรักษาพยาบาล การแก้ปัญหาการว่างงานและการให้เงินสงเคราะห์คนชรา
2. เป็นสวัสดิการถ้วนหน้าไม่ว่าคนรวยหรือคนจนย่อมได้รับสิทธิ์ ทำให้ประชาชนมีความมั่นคงในปัจจัยพื้นฐานของชีวิตมากขึ้น
3. เป็นระบบสวัสดิการภายใต้รัฐ
4. เป็นระบบสวัสดิการที่อาศัยงบประมาณจากการเก็บภาษี โดยเป็นการเก็บภาษีทางตรงคือ ใครมีทรัพย์สินมาก ก็ต้องจ่ายภาษีมากโดยเน้นเก็บภาษีสองตัวเป็นหลักคือภาษีที่ดินและภาษีมรดก เพราะภาษีเหล่านี้เป็นตัวก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้
เราอาจเรียกแนวคิดรัฐสวัสดิการว่าเป็นแนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนากระแสหลัก กล่าวคือ แนวคิดรัฐสวัสดิการถูกผลักดันให้เกิดขึ้นโดยสำนักสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยครั้งแรกจากการเรียกร้อง ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปตะวันตก ซึ่งตัวทฤษฎีและรูปแบบได้ค่อยๆ สั่งสมและขยายตัวขึ้นโดยมีการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยมเป็นตัวกระตุ้นซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมในชีวิตประชาชนจำนวนมาก การพัฒนาในแนวนี้ที่เน้นให้เกิดความเท่าเทียม ดูแลชีวิตขั้นพื้นฐานรวมถึงสร้างความมั่นคงและลดปัจจัยเสี่ยงให้แก่ชีวิตประชาชนโดยผ่านรัฐจึงเกิดขึ้นและพัฒนาจนได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน
แต่ถึงแม้จะกล่าวว่า “รัฐสวัสดิการ” เกิดขึ้นจากผลของทฤษฎีการพัฒนากระแสหลักที่เน้นทุนนิยมจนก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันนั้น สำหรับในแง่มุมนี้ อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ มองในแง่ที่ว่าไม่จำเป็นว่าทุนนิยมจะต้องขาดจากรัฐสวัสดิการเสมอไป เนื่องจากหลายประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการก็ยังเป็นทุนนิยมอยู่ ทั้งนี้ต้องเป็นทุนนิยมที่ไม่รุนแรงนัก เพราะทุกประเทศต้องมีการผสมกันระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมอยู่แล้ว ด้านที่เป็นสังคมนิยมก็คือการจัดสวัสดิการ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากนักขณะที่ในด้านทุนนิยมก็คือ การให้โอกาสในการลงทุน มีอิสระในการหารายได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดรัฐสวัสดิการ จะมีลักษณะที่ดูคล้ายการต่อต้านระบบทุนนิยมดังที่กล่าวข้างต้น แต่ก็มีบางมุมมองจากนักวิชาการที่น่าสนใจได้วิจารณ์แนวคิดรัฐสวัสดิการว่าเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้ระบบทุนนิยมมีความหยืดยุ่น อีกทั้งยังเป็นเกราะสร้างหลักประกันและการสะสมทุนในระยะยาวเท่านั้นและหากพิจารณาตามคำกล่าวข้างต้น เราอาจมองในอีกแง่มุมหนึ่งได้ว่ารัฐสวัสดิการเป็นเพียงผลผลิตที่เกิดจากพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรม ที่ไม่สามารถกดขี่ขูดรีดแรงงานในแบบเดิมได้อีกต่อไป ทำให้ต้องมีการคิดค้นระบบใหม่ๆขึ้นมา เพื่อยับยั้งแรงกดดันของชนชั้นแรงงานที่อาจระเบิดขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียในระบบเสรี ดังนั้นจึงมีการสร้างแนวรัฐสวัสดิการขึ้นมา ไม่เพียงแต่สามารถแก้ไขปัญหาที่กล่าวข้างต้นได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับการสะสมทุนในระยะยาวอีกด้วย โดยหลักฐานที่ยืนยันข้อเสนอดังกล่าวว่าเป็นจริง เห็นได้จากในโลกปัจจุบันที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างลัทธิทุนนิยม สังคมประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการมากขึ้น ซึ่งในแง่นี้เองที่ผลประโยชน์ของแนวคิดพัฒนานี้อาจไม่ได้มุ่งเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง แต่เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่การพัฒนากระแสหลักที่เน้นระบบทุนนิยม กลไกตลาด เสียมากกว่า
7.28.2551
“คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” โดย อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
เค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี
สาระสำคัญของเนื้อหาในเค้าโครงเศรษฐกิจ คือ เริ่มแรกจะมีคำชี้แจ้งว่าในการพิจารณาหรืออ่านเค้าโครงเศรษฐกิจนี้ ควรวางใจเป็นกลาง ไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนตน และควรขจัดทิฐิมานะออก และในส่วนเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 11 หมวด ปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ โดยต้องการให้บรรลุหลักข้อ 3 ของประกาศคณะราษฎร หลักซึ่งเกี่ยวแก่เศรษฐกิจของประเทศมีความว่า “จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก” และได้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นนี้รัฐบาลทำได้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย โดยเค้าโครงเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นแบบสหกรณ์เต็มรูปแบบแต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร มีดอกเบี้ยประจำปี นายปรีดียังได้วางหลักการประกันสังคม คือให้การประกันแก่ราษฎรตั้งแต่เกิดจนตายว่า เมื่อราษฎรผู้ใดไม่สามารถทำงาน หรือทำงานไม่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือชราหรืออ่อนอายุ ก็จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจากรัฐบาล ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจในชื่อร่าง พ.ร.บ.“ว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร” นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีการตั้งธนาคารแห่งชาติ และออกสลากกินแบ่งเพื่อระดมทุนให้แก่รัฐบาล
แต่เมื่อนายปรีดีได้นำร่างเค้าโครงเศรษฐกิจนี้เสนอต่อรัฐบาล ปรากฏว่าอนุกรรมการพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจที่รัฐบาลตั้งขึ้นมากลั่นกรองส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่อนุกรรมการส่วนน้อย อันนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าและขุนนางยังเป็นผู้คุมอำนาจอยู่ เมื่อนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย นายปรีดีจึงขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ดังนั้นรัฐบาลจึงร่วมมือกับทหารบางกลุ่มทำการยึดอำนาจด้วยการปิดสภาและออก พ.ร.บ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกแถลงการณ์ประณามนายปรีดี พนมยงค์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดีจำต้องเดินทางออกนอกประเทศไป และหลังจากนั้นก็ได้มีการออกสมุดปกขาว ซึ่งก็คือ พระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ออกโจมตีเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของปรีดี พนมยงค์
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของปรีดี พนมยงค์ เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญต่อสังคมไทย 2 ประการ โดยจะเห็นได้ว่าเป็นนัยของการพัฒนา คือ
1. เป็นร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกและฉบับเดียวของประเทศไทยที่เสนอแนวทางเศรษฐกิจแห่งชาติแบบสังคมนิยม ภายใต้กรอบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
2. ผลของการเสนอ “สมุดปกเหลือง” ก่อให้เกิดวาทกรรมระหว่างกลุ่มที่มีวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจ-การเมือง ซึ่งแตกต่างกัน 2 ขั้ว ในคณะรัฐบาลชุดแรกของระบอบประชาธิปไตยไทย
ขั้วหนึ่ง คือ กลุ่มหัวก้าวหน้าในคณะราษฎร นำโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ผู้เป็นตัวแทนทัศนะเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบอ่อนๆ
อีกขั้วหนึ่ง คือ กลุ่มศักดินา-ขุนนาง-ทหาร นำโดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ผู้เป็นตัวแทนทัศนะเศรษฐกิจบริวารโลกทุนนิยมเสรี โดยได้มีการกล่าวหาว่าปรีดี พนมยงค์เป็นคอมมิวนิสต์ และทำให้เค้าโครงเศรษฐกิจนี้มิได้มีผลบังคับใช้
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าเค้าโครงเศรษฐกิจนี้จะมิได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่สำหรับในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน เช่น ในทัศนะของ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจนั้นท่านปรีดีได้มีคำชี้แจงชัดเจนว่า ได้มีการหยิบเอาส่วนดีของลัทธิต่างๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมแก่ประเทศมานำเสนอในเค้าโครง และชี้อย่างชัดเจนว่าการจะร่างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีนั้น ต้องขจัดเอาประโยชน์ส่วนตนและทิฐิมานะออก และต้องมีใจเป็นกลาง เจตนารมณ์ของ สมุดปกเหลืองเค้าโครงทางเศรษฐกิจของท่านอาจารย์ปรีดี คือ ต้องการเปิดโอกาสและปูทางให้ประชาชนสามัญชนทั้งหลายเข้ามามีสิทธิมีส่วนร่วมในการจัดการเศรษฐกิจตั้งแต่ในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ และที่สำคัญต้องทำให้ประเทศมีเอกราชทางเศรษฐกิจ ความคิดทางเศรษฐกิจของท่านปรีดีก็ได้ถูกนำมาใช้ในปัจจุบันหลายเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่าความคิดทางเศรษฐกิจหลายประการอาจจะล้ำสมัย จึงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยในระยะนั้นไม่เข้าใจหรือแสร้งไม่เข้าใจเนื่องจากไปขัดแย้งกับผลประโยชน์ตน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสหกรณ์ทางเศรษฐกิจของชุมชน ระบบประกันสังคม ระบบภาษีที่สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และได้มีผู้เห็นว่าแนวความคิด ในเค้าโครงเศรษฐกิจ มิใช่เป็นแบบคอมมิวนิสต์ ดังที่ถูกกล่าวหา แต่เป็น แบบที่ นายปรีดี กล่าวว่า “โปลิซีของข้าพเจ้านั้น เดินแบบโซเชียลลิสม์ ผสมลิเบรัล” ดังจะเห็นได้ว่า ในเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว มีการรับรองกรรมสิทธิ์ของเอกชนไว้ ในหมวดที่ 3 เช่นเดียวกับที่มีในประเทศเสรีนิยมทางเศรษฐกิจทั้งหลาย
นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าแม้ว่าเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ จะมิได้มีผลบังคับใช้ แต่สาระสำคัญในเค้าโครงเศรษฐกิจ ก็ได้รับนำมาปฏิบัติก็เป็นแบบฉบับของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นระบบ และความคิดหลายอย่างในเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว ก็ได้มีการนำมาปฏิบัติอย่างได้ผลดี ทั้งในสมัยที่เขาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ และหลังจากสมัยของปรีดี อาทิเช่น การก่อตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย การจัดระบบ การเก็บภาษีที่เป็นธรรม (ประมวลรัษฎากร) การปรับปรุง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้สอดคล้องกับ ระบบการเมืองใหม่ และการประกันสังคม แก่ราษฎรทั่วหน้า โดยปรีดี พนมยงค์เป็นนักการเมืองคนแรก ที่ริเริ่มแนวความคิด ที่จะให้ราษฎรทุกคน ได้รับการ ประกันสังคม (Social assurance) จากรัฐบาล โดยระบุไว้อย่างชัดเจน ในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจ แต่น่าเสียดาย ที่ร่างของแนวความคิดดังกล่าว ถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์ กว่าประเทศไทยจะยอมรับให้มีนโยบายประกันสังคมให้แก่ประชาชน ก็เป็นร่วงเลยไปเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก
บุญนิยม สันติอโศก
กล่าวได้ว่าสันติอโศก ก่อตัวขึ้นเพื่อต้านระบบทุนนิยมที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ อย่างเช่น กระแสบริโภคนิยมแบบสุดๆ กระแสกิเลสตัณหานิยม และลัทธิตัวใคร ตัวมันที่แพร่ระบาดไปทั่วประเทศไทย จนผลักดันให้พระจำนวนหนึ่งประกาศต่อต้านกระแสทุนนิยม ซึ่งพวกเขาได้นำเสนอทฤษฎีการสร้างชุมชนใหม่ในนามของระบบบุญนิยมขึ้นมาหัวใจหลักคือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐานคิดหลักในการปฏิเสธระบบทุนนิยม
หลักบุญนิยมโดยมีฐานคิดหลักที่สำคัญ ดังนี้คือ
1. ศาสนาบุญนิยม คือ การใช้พุทธศาสนาเป็นฐาน อย่างเช่น การถือศีล 5 ตามหลักพุทธศาสนา และต้องทานมังสวิรัติ
2. การศึกษา บุญนิยมที่สอนให้นักศึกษาเสียสละ รับใช้สังคม 3. เศรษฐกิจบุญนิยม กินน้อย ใช้น้อย ทำงานมาก ไม่แสวงหากำไร 4. วัฒนธรรมบุญนิยม วัฒนธรรมพุทธ ที่เน้นความเรียบง่าย 5. การเมืองบุญนิยม เป็นการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ทุกชีวิตมีอิสรภาพ และเสรีภาพ และทำเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง
ระบบบุญนิยมนี้สะท้อนถึงความสามารถในการคิดค้น พัฒนา และดัดแปลง ความเชื่อทางพุทธศาสนาเดิม และนำเอาความเชื่อดังกล่าวมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายที่เชื่อมกับการสร้างชุมชนพุทธ โดยสร้าง ความเป็นชุมชน และวัฒนธรรมที่เอื้ออาทร และปฏิเสธความเป็นอภิมหานครแบบทุนนิยม และความเป็นปัจเจกชนนิยม
วิจารณ์แนวการพัฒนาตามแนวทางบุญนิยมของสันติอโสก
ในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าคิดว่าแม้หลักการบุญนิยมของสันติอโศกได้เป็นการสร้างชุมชนและวัฒนธรรมที่เอื้ออาทรต่อกันแต่สิ่งที่สันติอโศกได้พัฒนาตามแนวบุญนิยมนั้นเป็นการทวนกระแสของระบบทุนนิยมที่มีลักษณะสุดโต่งเกินและดูเหมือนจะแปลกแยกจากสังคมที่เป็นอยู่ไปเช่น การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งแม้ในพระธรรมวินัยก็ไม่ได้ห้ามไห้พระฉันเนื้อและ การที่นักบวชได้มายุ่งกับการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่ดูไม่เหมาะสมเพราะนักบวชควรที่จะทำกล่อมเกลาเพื่อให้ฆาราวาสตั้งมั่นอยู่ในความสงบมากกว่าที่จะมารวมกันประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการที่สันติอโศกตั้งชุมชนบุญนิยมของตนขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างรัฐซ้อนรัฐขึ้นมาดูเป็นการสร้างความแบ่งแยกระหว่างคนที่อยู่ในรัฐไทยด้วยกัน
การพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน หากเราจะมองกันในแนวของวาทกรรมก็คงหนีไม่พ้นกรอบคิดที่ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนก็เป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมให้การพัฒนาด้วยการแตกแนวคิดใหม่ที่ถูกผสมผสานระหว่างแนวคิดเดิมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้วาทกรรมการพัฒนา แต่สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ การพัฒนาได้ทำประโยชน์ต่างๆมากมายให้กับสังคมโลก และมนุษย์เองก็ต้องการการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นการพัฒนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นว่าจะต้องทำอย่างไรให้คนรุ่นหลังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อพัฒนาต่อไปได้มากกว่า
ของทางพระธรรมปิฎก (ปยุตฺ ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ คือทำให้เกิดเป็นองค์รวม หมายความว่า องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกับครบองค์ และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ มีดุลยภา หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ การทำให้กิจกรรมมนุษย์สอดคล้องกับเกณฑ์ของธรรมชาติ” เราสามารถเข้าใจการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ง่ายขึ้นว่า “เป็นการทำให้ก้าวหน้าต่อไปโดยไม่ทำลายทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้และเป็นที่ตองการในอนาคต”
เมื่อเราพอเห็นภาพคร่าวๆของการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว สิ่งที่เราควรจะรู้ต่อไปก็คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ที่แต่เดิมนับแต่เริ่มใช่แผนพัฒนาฯซึ่งเน้นการพัฒนาเป็นด้านๆไป มาสู่การพัฒนาที่เป็นองค์รวม ให้ความสำคัญกับทุกๆด้าน ที่นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยยึดเอาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา พร้อมกันนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ศสช.) เองก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีร่วมร่วมในกระบวนการพัฒนาให้มากที่สุด
สำหรับแนวทางของ สศช. ที่ได้มีการนำเสนอ นั้นมีตั้งแต่ การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม การปรับโครงสร้างพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน การบริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน การค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ เหล่านี้ล้วนมีการพูดถึงกันมาและมีการระบุลงไปในแผนพัฒนาฯตั้งแต่ฉบับที่ 8 เรื่อยมาจนถึงฉบับล่าสุดคือฉบับที่10 นอกจากนี้ สศช. ยังได้มีการอัญเชิญ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เน้นให้การดำรงชีวิตของคนไทยทุกระดับมีความมั่นคง ยืนด้วยขาของตัวเองได้บนพื้นฐานของการรู้จักพอประมาณ มีเหตุผล ซึ่งถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อมีปัจจัยใดๆเข้ามากระทบ ก็จะสามารถอาศัยความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนในการดำเนินงานทุกขั้นตอน และจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจให้ทุกคนมีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นหนทางที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคนในชาติมีสำนึกอยู่ในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม ตลอดจนละเลิกจากกิเลสตัณหา มีสติปัญญาคิดเห็นไตร่ตรองเหตุผล ทุกอย่างก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลกัน ซึ่งจะนำพาสังคมไปสู่ความสงบสุข
และเพื่อให้แนวคิดนี้สัมฤทธิ์ผล ทาง สศช.เองได้มีการพิจารณาปัญหาในเชิงพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำหรืออ่าวที่มีปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน หรือเป็นสายการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วนในด้านหน้าที่ นอกจากจะยอมรับในการมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ รัฐจะต้องมีการปรับบทบาทจากผู้ควบคุมสั่งการมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาและในด้านการมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายต่างเป็นผู้รับผลของการพัฒนา ทั้งในเชิงบวกและลบ จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา แม้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ก็จริง แต่ในมิติของความยั่งยืนแล้วการพัฒนาในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่เพียงพออีกต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กรอบคิดของสศช. มีความแคบไป ทั้งๆที่เป้นสิ่งสำคัญซึ่งเราไม่ควรละเลยไป อันได้แก่
1. ความเสมอภาค เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้ถูกละเลยไป เพราะในปัจจุบันความเหลื่อมล้ำและความยากจนเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้การพัฒนาคน หรือคุณภาพชีวิตของประชากรไม่เป็นไปตามที่หวัง
2. ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเทคโนโลยีที่เป็นทุนความรู้ของชาติ (เขียนปะปนกันในเรื่องของสังคมทำให้ความสำคัญด้อยลง) ที่จะลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งไทยเคยเสียเปรียบต่างชาติจนขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและเกิดวิกฤติหนี้สินต่างประเทศมาแล้ว
3. ไม่ได้เอ่ยถึงมิติด้านสันติภาพทั้งๆที่เป็นหัวใจของความยั่งยืน เพราะวิกฤตหลายๆอย่างในสังคมไทยโดยใช้สันติวิธี ในวิถี สันติธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐกับประชาชนที่นับวันยิ่งจะมีมากขึ้นตามลำดับ
4. ไม่เน้นเรื่องของประชาธิปไตย ทั้งๆที่เป็นหัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญ แม้จะมีการพูดถึงเรื่องของการมีส่วนร่วมก็เป็นเพียงแค่ผิวเผิน อันที่จริงการหลบ-หลีก-เลี่ยงที่จะเขียนถึงเรื่องการเมืองและโครงสร้างอำนาจมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้กรอบคิดการพัฒนาที่ใช้อยู่ไม่ยั่งยืนและขาดน้ำหนักลงไปมากเท่านั้น การปฏิเสธการเมืองภาคประชาชน ก็เท่ากับการปฏิเสธการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความสุขมวลรวมประชาชาติ
Gross National Happiness(GNH) หรือที่เรียกกั
ความสุขมวลรวมประชาชาติ GNH นั้นเป็นหลักการบริ
ประการที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเที
ประการที่ 2 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรั
ประการที่ 4 การส่งเสริมการพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) คือเน้นให้ชาวภูฏานดำรงชีวิ
อย่างไรก็ตามความสุ
พอเพียง เป็นได้จริงหรือแค่ฝัน??
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรั
เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพี
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกล่
เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิ
อยู่ดีอย่างพอเพียง??
ในปัจจุบัน ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข นั้น มีที่มา ๒ ประการ คือ ประการแรก มาจากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสั
โครงการอยู่ดีมีสุขนั้นมี
เมื่อมองย้อนกลับไปดูถึ
ต่อมาได้เกิดแนวคิดยุคหลั
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการอยู่ดีมีสุขเอง ก็พบปัญหาอุปสรรคหลายประการเช่
ถึงแม้ว่าโครงการอยู่ดีมี